ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ผลของการเรียนแบบผสมผสานด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่โดยใช้โครงงานการสร้างรหัสเทียมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
|
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
30 มิถุนายน 2564 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการระดับชาติ “การศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2564 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา |
สถานที่จัดประชุม |
คณะศึกษาศาสตร์ (ผ่านระบบออนไลน์) |
จังหวัด/รัฐ |
กุรุงเทพมหานคร |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
28 พฤษภาคม 2564 |
ถึง |
28 พฤษภาคม 2564 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2564 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
3-14 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการเรียนแบบผสมผสานด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่โดยใช้โครงงานการสร้างรหัสเทียมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ให้มีประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ก่อนและหลังการเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่เรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลังการเรียนแบบผสมผสานด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับประกาศรียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีรังสิโยภาส ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) การเรียนแบบผสมผสานด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่โดยใช้โครงงานการสร้างรหัสเทียมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ 2) แบบวัดการคิดสร้างเชิงคำนวณ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดความพึงพอใจ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งการทดลองที่มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า 1) การเรียนแบบผสมผสานด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่โดยใช้โครงงานการสร้างรหัสเทียมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.13/83.70 2) การคิดเชิงคำนวณของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่มีต่อการเรียนด้วยอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่โดยใช้โครงงานการสร้างรหัสเทียมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|