2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาความสามารถในการเคลื่อนไหว ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึม โดยใช้กิจกรรมฐานกาย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 สิงหาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ ๙ “เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อปิดช่องว่างการศึกษา” Designed Technology in Closing Educational Gaps” สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 
     สถานที่จัดประชุม ณ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 26 สิงหาคม 2564 
     ถึง 27 สิงหาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2564 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 11-19 
     Editors/edition/publisher สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร 
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึม โดยใช้กิจกรรมฐานกาย กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นเด็กที่มีภาวะออทิซึมที่มีความบกพร่องในการควบคุมการเคลื่อนไหวอวัยวะและร่างกาย จำนวน 5 คน อายุระหว่าง 5-15 ปี ที่ได้รับการคัดกรองและวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาคือ มีพัฒนาการล่าช้าในด้านการเคลื่อนไหวและควบคุมพฤติกรรมตนเอง เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้และการทำกิจกรรมต่าง ๆ รูปแบบในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว (Single Subject Design) แบบหลายเส้นฐานต่างพฤติกรรม (Multiple-Baseline Across Behaviors) รูปแบบ A-B-A การวิจัยนี้ได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ HE 643019 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่การเคลื่อนไหวร่างกาย ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึม โดยใช้กิจกรรมฐานกาย จำนวน 4 กิจกรรม แบบบันพฤติกรรมและแบบประเมินการเคลื่อนไหวร่างกาย ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึม โดยใช้กิจกรรมฐานกาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งการเกิดพฤติกรรม ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนากิจกรรมฐานกายเพื่อเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึม ในศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดมหาสารคาม พบว่า ผู้วิจัยได้พัฒนากิจกรรมฐานกายผ่านกระบวนการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 กิจกรรม คือ 1)การเคลื่อนไหวร่างกายในท่านอน 2)การเคลื่อนไหวร่างกายในท่านั่ง 3)การเคลื่อนไหวร่างกายในท่ายืน 4)การเคลื่อนไหวร่างกายในท่ากระโดด ได้ ซึ่งค่าดัชนีความสอดคล้องตามสูตร IOC ของกิจกรรมฐานกาย ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.86-1.00 ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์และนำไปใช้ (2) การศึกษาผลการใช้กิจกรรมฐานกาย กับกลุ่มเป้าหมาย 5 คน การทดลองใช้เวลา 6 สัปดาห์ๆ ละ 5 วัน รวมทั้งสิ้น 40 ครั้งแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนไหวร่างกายในท่านอน นั่ง ยืน กระโดด ได้ มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่เพิ่มขึ้นซึ่งแสดงว่า การใช้กิจกรรมฐานกาย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น สามารถพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย ของเด็กที่มีภาวะออทิซึมกลุ่มเป้าหมายได้  
ผู้เขียน
625050037-9 นาย ฉัตรชัย ราชภักดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 1