2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งโต๊ะหมู่บูชา จากรูปแบบและคติความเชื่อจากขันหมากเบ็ง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 13 กรกฎาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่ 4 "อัตลักษณ์ศิลปกรรมจากรากสู่โลก" Art Identity : From Local to Global 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จ.ขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 กรกฎาคม 2561 
     ถึง 14 กรกฎาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) ปีที่ 4 
     Issue (เล่มที่) เล่มที่ 1 ทัศนศิลป์เเละการออกแบบ 
     หน้าที่พิมพ์ 721-737 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยเพื่อศึกษาขันหมากเบ็ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและคติความเชื่อที่พบจากขันหมากเบ็ง และเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์ตกแต่งโต๊ะหมู่บูชา สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่นิยมการตกแต่งบ้านร่วมสมัย โดยทำการศึกษารวบรวมข้อมูลทั้งภาคเอกสารและภาคสนาม ณ วัดไชยศรี บ้านสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ในงานทอดกฐินสามัคคี ระหว่างวันที่ 22-23 ตุลาคม 2560 ด้วยการสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม นำข้อมูลที่ได้จากการพรรณนาวิเคราะห์ทั้งส่วนรูปธรรมและนามธรรมที่ได้ เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบและผลิตผลงานออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิดที่ได้จากการศึกษาขันหมากเบ็ง จากการศึกษาขันหมากเบ็งในด้านรูปธรรมพบว่า รูปทรงกรวยแหลมและเส้นไขว้สามเหลี่ยมสามารถสื่อสารความหมายถึงขันหมากเบ็งได้ ส่วนฐานทรงกระบอกและการใช้เส้นโลหะเพื่อตกแต่งเพิ่มเติมนั้นสามารถช่วยทำให้รูปทรงมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ลักษณะการแบ่งชิ้นส่วนเพื่อการผลิตมีความน่าสนใจ เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและสลับสัดส่วนทั้งชิ้นที่เป็นเซรามิกซ์และโลหะ มีความเป็นไปได้ในการเพิ่มรูปแบบ ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น และในด้านนามธรรมเชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องขวัญ 32 ประการ เป็นความเชื่อหลักในความหมายที่แสดงออกในรูปทรงของขันหมากเบ็งและสามารถใช้แทนความหมายได้อย่างตรงตัว เข้าใจได้ง่ายสามารถสื่อสารผ่านรูปธรรมได้ชัดเจน ส่วนด้านการออกแบบได้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาตกแต่งโต๊ะหมู่บูชา ชิ้นงานใช้สำหรับวางตกแต่งทั้งสิ้น 8 ชิ้น วางได้ 4 คู่ ในรูปแบบต่างกัน ใช้ดินสโตนแวร์เป็นวัสดุหลักในการผลิต ใช้เคลือบผิวกึ่งมันกึ่งด้าน สีขาว เผาในบรรยากาศเผาไหม้แบบสมบูรณ์(Oxidation)อุณหภูมิ 1,220oC ส่วนประดับรูปดอกไม้เป็นดินพอร์ซเลน เผาแยกส่วนอุณหภูมิ 1,250 oC พร้อมกันนี้ทั้งหมด เผาเพื่อตกแต่งทองอีกครั้งที่อุณหภูมิ 800oC จากนั้นนำมาประกอบเข้ากับเหล็กเส้นทำสีทอง  
ผู้เขียน
607220034-1 น.ส. ขวัญหทัย ธาดา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0