ชื่อบทความ |
ลักษณะทางดนตรีของแตรวงพื้นบ้านภาคเหนือตอนล่าง |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
17 กันยายน 2564 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
มหาวิทยาลัยนเรศวร |
ISBN/ISSN |
ISSN 1906-7682 (Print) ISSN 2651-2114 (Online) |
ปีที่ |
12 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
กรกฎาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2564 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางดนตรีของแตรวงพื้นบ้านภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการปรับตัวของแตรวงพื้นบ้านภาคเหนือตอนล่าง โดยกำหนดขอบเขตของวงดนตรีเป้าหมายที่มีอายุการก่อตั้ง ไม่น้อยกว่า 40 ปี เพื่อให้ได้ค่าคงที่ของลักษณะทางดนตรี จังหวัดละ 1 วง รวมเป็น 9 วง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามและการสัมภาษณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาลักษณะทางดนตรีในหัวข้อ จังหวะ ทำนอง การประสานเสียง สีสันของเพลง และคีตลักษณ์ พบว่าลักษณะทางดนตรี สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 บรรเลงเพลงมาร์ช เพลงรำวง เพลงลูกทุ่ง เพลงพื้นบ้าน และเพลงไทย ลักษณะการรับงานบวชนาคกับงานศพ คือแตรวงพื้นบ้านจังหวัดตาก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร และจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งแตรวงพื้นบ้านจังหวัดเพชรบูรณ์มีลักษณะทางดนตรีที่มีลักษณะเฉพาะคือการนำแคนเข้ามาผสมกับแตรวงพื้นบ้าน กลุ่มที่ 2 มีลักษณะทางดนตรีที่บรรเลงเพลงไทยเพียงอย่างเดียว รับเฉพาะงานศพเท่านั้น คือแตรวงพื้นบ้านจังหวัดสุโขทัย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งความพิเศษที่เกิดจากลักษณะทางดนตรีของจังหวัดอุทัยธานี พบมีการประสานเสียงระหว่างเครื่องดนตรีมากที่สุด เนื่องจากมีการนำโน้ตสากลเข้ามาใช้ พร้อมกันนี้ได้นำระนาดเอกเข้ามาผสมวงด้วย โดยการนำเครื่องดนตรีไทยเข้ามาผสมทำให้เกิดลักษณะทางดนตรีที่มีจังหวะ ทำนอง สีสันของเพลง และคีตลักษณ์แบบเพลงไทยเดิม ลักษณะทางดนตรีที่พบนี้ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มแตรวงพื้นบ้านภาคเหนือตอนล่าง นำเครื่องดนตรีไทยมาผสมวงมากขึ้น เป็นผลมาจากความนิยมเครื่องแห่ที่ทันสมัย เช่นรถแห่ ที่มีเครื่องดนตรีวงสตริง กีต้าร์ เบส กลองชุด เข้ามามีบทบาทสำหรับการแห่นาคมากขึ้น จึงทำให้แตรวงพื้นบ้านต้องปรับเปลี่ยนลักษณะทางดนตรีเพื่อตอบรับความต้องการทางสังคมมากขึ้น |
คำสำคัญ |
แตรวงพื้นบ้าน ภาคเหนือตอนล่าง ลักษณะทางดนตรี |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|