2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีเพื่อพัฒนาศักยภาพทางดนตรี โดยใช้แนวคิดฐานสมรรถนะ (Procedure of Music Teaching Using Competency-based Approach) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 1 กรกฎาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาด้านดนตรีเชิงบูรณาการและนวัตศิลป์ ระดับชาติ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 
     สถานที่จัดประชุม สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 กรกฎาคม 2564 
     ถึง 2 กรกฎาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2564 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ แนวคิดฐานสมรรถนะนั้นสามารถนำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ทุก ๆ วิชา ไม่เพียงเพื่อวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น ยังสามารถนำไปปรับใช้กับการจัดการ และพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรณ์ได้อีกด้วย เมื่อนำเอาแนวคิดฐานสมรรถนะ มาปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนดนตรี จึงทำให้การพัฒนาผู้เรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง แนวคิดฐานสมรรถนะ (Competency based)เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาศักยภาพภายในตัวบุคคล (Potential) อธิบายถึงความสามารถในการใช้ ความรู้ ทักษะ และเจตคติ/คุณลักษณะ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในตัวบุคคล มาใช้ในการทำงานหรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยสามารถวัดและประเมินผลได้จากการปฏิบัติ สมรรถนะจึงเป็นผลจากการแสดงออก ทางด้านความรู้ ด้านทักษะ และเจตคติ/คุณลักษณะ รวมทั้งความสามารถต่าง ๆ ที่ส่งผลให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ประสบความสำเร็จในการทำงาน การพัฒนาศักยภาพทางดนตรีด้านจังหวะ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาผู้เรียนด้าน 1) ความรู้ทางดนตรี (Music Knowledge) 2) ทักษะการปฏิบัติทางดนตรี (Music Skill) 3) เจตคติและคุณลักษณะ(Attitude/ Attribute) ที่มีต่อดนตรี ซึ่งความสามารถทั้ง 3 ประการนี้ จะส่งผลให้ผู้เรียน นักดนตรีรวมทั้งผู้ที่สนใจต่อการศึกษาดนตรีบรรลุเป้าหมายตามแนวคิดฐานสมรรถนะ และนำความสามารถทางดนตรีที่ตนมีไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน และการประกอบชีพได้ 
ผู้เขียน
627220031-9 นาย รพีพล หล้าวงษา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0