2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การวางแผนการตลาดเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขายร้านก๋วยเตี๋ยว 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 10 ตุลาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม 10th National and International Conference on Administration and Management 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม Political Science Association of Kasetsart University 
     สถานที่จัดประชุม โรงเรียนเสนาธิการทห่ารบก 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 27 กันยายน 2564 
     ถึง 27 กันยายน 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่) 20 
     หน้าที่พิมพ์ 171 
     Editors/edition/publisher Attapol Kuanliangand Sukanya Buranadechachai 
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคก๋วยเตี๋ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจบริโภคก๋วยเตี๋ยว เพื่อวางแผนการตลาดเพิ่มยอดขายร้านก๋วยเตี๋ยว โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่รับประทานก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก ร้อยละ 35.75 โดยรับประทานร่วมกับผักสด ร้อยละ 49.25 มีความถี่ในการรับประทาน 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 55.75 โดยนั่งรับประทานที่ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้อยละ 90.75 เหตุผลของการเลือกรับประทานก๋วยเตี๋ยว คือ รสชาติของอาหาร ร้อยละ 63.25 ช่วงเวลาที่นิยมรับประทานก๋วยเตี๋ยวคือช่วงเวลาเที่ยง ร้อยละ 66.25 ด้านส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจรับประทานก๋วยเตี๋ยว ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 7 ด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.80 - 4.65 โดยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในระดับ มาก จำนวน 5 ปัจจัย ระดับมากที่สุด จำนวน 36 ปัจจัย จากผลการศึกษาร่วมกับการวิเคราะห์แรงกดดัน 5 ประการ การวิเคราะห์สภาพแวด ล้อมทางการตลาด การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ภัยคุกคาม และโอกาส การวิเคราะห์ทาวน์เมตริกซ์ นำมาสู่การวางแผนการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายร้านก๋วยเตี๋ยว จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ 1 กกขามเดลิเวอรี่ 2 หนังท้องตึง หนังตาย่อน พักผ่อนสบาย 3 ตำเตี๋ยวกระตุ้นยอด 4 การตลาดออนไลน์ โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นจากยอดต่อวัน15,000-20,000บาทเป็นยอดต่อวัน 20,000 - 25,000 บาทต่อวัน 
ผู้เขียน
625740072-4 นาย ณัฐวุฒิ ดวงชาพรม [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0