2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย HIGH SCHOOL STUDENTS’ VALUES IN MATHEMATICS LEARNING  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 26 ธันวาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมระดับชาติครุศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 12 การศึกษาฐานสมรรถนะในยุค New Normal 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 
     สถานที่จัดประชุม Online by Zoom 
     จังหวัด/รัฐ นครศรีธรรมราช 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 ธันวาคม 2564 
     ถึง 26 ธันวาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 12 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 342-353 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เก็บข้อมูลจากโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 1 โรงเรียน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ รวมทั้งหมด 294 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสำรวจค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และดำเนินการเก็บข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 6 ด้าน ของ Zhang et al. (2016) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและสถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (1) ด้านการประสบความสำเร็จ (achievement) ในระดับมาก และข้อมูลเชิงคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 37.30 ให้ความสำคัญเกี่ยวกับแรงบันดาลใจ ที่ทำให้อยากเรียนคณิตศาสตร์ได้ดี (2) ด้านความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน (relevance) ให้ความสำคัญระดับมาก และข้อมูลเชิงคุณภาพคิดเป็นร้อยละ 40.14 ซึ่งให้ความสำคัญเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่ช่วยในการดำเนินชีวิต-ประจำวัน (3) ด้านการปฏิบัติ (practice) ให้ความสำคัญระดับมาก และข้อมูลเชิงคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 13.83 ซึ่งให้ความสำคัญในการทบทวนบทเรียนด้วยตนเองหรือกับเพื่อน (4) ด้านการสื่อสาร (communication) ให้ความสำคัญระดับน้อย และข้อมูลเชิงคุณภาพ คิดเป็นร้อยละ 2.94 โดยให้ความสำคัญกับเพื่อนเพื่อใช้พูดคุยอภิปราย (5) ด้านสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร (ICT) คิดเป็นร้อยละ 3.85 ให้ความสำคัญในการใช้เครื่องคำนวณ (6) ด้านการสะท้อนกลับ (feedback) คิดเป็นร้อยละ 1.93 ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสะท้อนความเข้าใจของนักเรียน 
ผู้เขียน
615050128-5 น.ส. อัจฉริยา เชื้อเพชร [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0