ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
|
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
26 ธันวาคม 2564 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 12 "การศึกษาฐานสมรรถนะในยุค New Normal" |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช |
สถานที่จัดประชุม |
Online by Zoom |
จังหวัด/รัฐ |
นครศรีธรรมราช |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
25 ธันวาคม 2564 |
ถึง |
26 ธันวาคม 2564 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
12 |
Issue (เล่มที่) |
2 |
หน้าที่พิมพ์ |
331-341 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนขยายโอกาส โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนขยายโอกาส 4 โรงเรียน ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 151 คน โดยใช้แบบสำรวจค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่แบ่งระดับความคิดเห็นออกเป็น 4 ระดับและเขียนบรรยายประกอบเหตุผล วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบมิติค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 6 มิติ ของ Zhang et al. (2016) โดยใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและสถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ความถี่และร้อยละ ใช้สถิติเชิงอ้างอิงในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ t-test และ One-way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่านักเรียนค่านิยมในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 4 มิติ ดังต่อไปนี้ 1) ด้านการประสบความสำเร็จให้ความสำคัญในระดับมาก (x ̅=2.88) ด้านข้อมูลเชิงคุณภาพคิดเป็นร้อยละ 22.30 โดยความสำเร็จขึ้นอยู่กับการคิดคำนวณและการตั้งใจฟังครู 2) ด้านความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ให้ความสำคัญในระดับมาก (x ̅=3.01) ด้านข้อมูลเชิงคุณภาพคิดเป็นร้อยละ 47.68 ซึ่งให้ความสำคัญกับการเขียนหรือบันทึกความรู้ที่ได้จากการเขียนบนกระดานของครู และการคิดคำนวณ 3) ด้านการปฏิบัติ ให้ความสำคัญในระดับน้อย (x ̅=2.50) ด้านข้อมูลเชิงคุณภาพคิดเป็นร้อยละ 12.14 ให้ความสำคัญกับสูตรคูณและการคิดคำนวณเพื่อสนับสนุนการทำงานคณิตศาสตร์ การบ้าน หรือการสอบ รวมถึงการลงมือทำงานคณิตศาสตร์ด้วยตนเองภายหลังการอธิบายของครู 4) ด้านสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร ให้ความสำคัญคิดเป็นร้อยละ 17.22 โดยให้ความสำคัญกับการใช้อุปกรณ์ในการช่วยคำนวณ และไม่พบค่านิยมในด้านการสื่อสารและการสะท้อนกลับ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|