2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความตระหนักในการคิดของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 26 ธันวาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการ ครุศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 12 "การศึกษาฐานสมรรถนะในยุค New Normal" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 
     สถานที่จัดประชุม ออนไลน์ (Zoom) 
     จังหวัด/รัฐ นครศรีธรรมราช 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 ธันวาคม 2564 
     ถึง 26 ธันวาคม 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 12 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 301-310 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักในการคิดของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนคูคำพิทยาสรรพ์ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 11 คน ซึ่งเป็นชั้นเรียนที่ผ่านการจัดการเรียนการสอนภายใต้บริบทของการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ จากศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ใบกิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์ แบบบันทึกความรู้ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบบันทึกการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ และวีดิทัศน์การจัดการเรียนการสอน ข้อมูลที่ได้รวบรวมนำมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดการพัฒนาทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ของไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2561) ที่ปรับเข้ากับขั้นตอนของวิธีการแบบเปิดในฐานะที่เป็นแนวทางการสอน (Inprasitha, 2010) ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในการคิด โดยนักเรียนมีแนวคิดที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาที่เหมือนหรือแตกต่างกันตามแนวคิดที่แต่ละคนได้ค้นพบจากการลงมือทำและคิดกับสิ่งที่ทำ โดยมีหลักฐานของความตระหนักในการคิดคือ มีการปรากฏของแนวคิดหรือเครื่องมือที่นักเรียนเคยใช้ในการแก้ปัญหาในคาบเรียนก่อนหน้า แนวคิดของนักเรียนได้มีการสะสม และถูกนำมาใช้ต่อ ทั้งในหน่วยการเรียนรู้เดียวกันและหน่วยการเรียนรู้อื่น ทั้งในระดับชั้นเดียวกันและในระดับชั้นที่สูงขึ้น นอกจากนี้พบว่า แนวคิดที่นักเรียนตระหนักและถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา บางแนวคิดได้มีการพัฒนาและถูกใช้ร่วมกับแนวคิดอื่น กลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ 
ผู้เขียน
615050124-3 นาย ภัทรพงศ์ วรศักดิ์มหาศาล [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0