2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาออนโทโลยีคำแนะนำสำหรับบริการสนับสนุนการ วิจัยของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 มีนาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสารสนเทศศาสตร์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 40 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน – มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาออนโทโลยีคำแนะนำสำหรับบริการสนับสนุนการวิจัยของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิธีการศึกษา: ใช้การวิจัยและพัฒนา โดยการพัฒนาออนโทโลยีดำเนินตามกระบวนเบื้องต้นของ Noy & McGuinness (2001) มี 7 ขั้นตอนดังนี้ 1) กำหนดวัตถุประสงค์ของขอบเขตออนโทโลยีให้ชัดเจน 2) การแจกแจงคำศัพท์ 3) การกำหนดคลาสและลำดับขั้นของแนวคิด 4) การกำหนดความสัมพันธ์ 5) การกำหนดคุณสมบัติ 6) การกำหนดมุมมองเกี่ยวกับคุณสมบัติของคลาส และ 7) การสร้างข้อมูลตัวอย่างภายในคลาส เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาออนโทโลยี คือ Protégé เวอร์ชัน 3.5 ในการสร้างคลาสกำหนดคุณสมบัติ สร้างความสัมพันธ์ ออกแบบกฎการคำแนะนำด้วยภาษา SWRL จากนั้นนำไฟล์ OWL มาใช้ร่วมกันกับ Protégé เวอร์ชัน 5.5.0 เพื่อดูโครงสร้างของออนโทโลยีในรูปแบบกราฟ จากนั้น ใช้ Webprotege ในการจำลองการแสดงผลการให้คำแนะนำในรูปแบบเว็บไซต์ ข้อค้นพบ: การพัฒนาออนโทโลยีคำแนะนำสำหรับบริการสนับสนุนการวิจัยของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่นนี้ เป็นการจัดการคำถามที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เก็บรวบรวมคำถาม ที่ผู้ใช้สอบถามเข้ามาผ่านช่องทางการติดต่อต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 – 2562 เป็นจำนวน 5,561 คำถาม ซึ่งเป็นคำถามเดิม ๆ ซ้ำๆ โดยการจัดการคำถามใช้แนวคิดคิดออนโทโลยี สำหรับวิเคราะห์ สังเคราะห์ และ จัดกลุ่มคำถาม เพื่อแก้ไขปัญหาการตอบคำถามเดิมซ้ำๆ ช่วยลดภาระงานซ้ำซ้อนของบรรณารักษ์ และสามารถให้คำแนะนำนักวิจัยในการช่วยเหลือการทำวิจัยหรือการเข้าถึงบริการที่ทางสำนักหอสมุดได้จัดเตรียม ไว้ให้บริการแก่นักวิจัย จากการประเมินออนโทโลยีเพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC พบว่า ผลการระบุนิยามขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการพัฒนา มีค่าโดยรวมคือเหมาะสม (ค่าคะแนน = 1) การกำหนดคลาสหรือแนวคิด ของออนโทโลยี มีค่าโดยรวมคือเหมาะสม (ค่าคะแนน = 0.67) การสร้างตัวอย่างข้อมูล มีค่าโดยรวม คือเหมาะสม (ค่าคะแนน = 0.67) การประยุกต์เพื่อนำไปใช้และแนวทางการพัฒนาออนโทโลยีในอนาคตตามลำดับ โดยออนโทโลยีมีค่าโดยรวมคือเหมาะสม (ค่าคะแนน = 1) การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้: ออนโทโลยีคำแนะนำสำหรับบริการสนับสนุนการวิจัยของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่นนี้ สามารถนำไปพัฒนาการวิจัยในอนาคตได้ เช่น นำโครงสร้างออนโทโลยีไปพัฒนา ต่อยอดเป็นระบบตอบคำถามอัตโนมัติ (Chatbot) หรือระบบแนะนำ อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการในอนาคตได้  
     คำสำคัญ ออนโทโลยี การจัดการคำถาม การให้คำแนะนำ บริการสนับสนุนการวิจัย  
ผู้เขียน
615080014-2 นาง ยุวภา รือเกอร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum