2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาแนวคิดรูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตวิญญาณของอาจารย์เกษียณอายุ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม จิตตปัญญาสิบห้าปี "การเติบโตจากภายในสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ศูนย์จิตตปัญญา มหาวิทยาลัยมหิดล  
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี 
     จังหวัด/รัฐ กาญจนบุรี  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 กุมภาพันธ์ 2565 
     ถึง 26 กุมภาพันธ์ 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 10 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 17-18 
     Editors/edition/publisher ศูนย์จิตปัญญา มหาวิทยาลัยมหิดล  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยการพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตวิญญาณสำหรับผู้สูงอายุ จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้คือการสำรวจและตรวจสอบแนวคิดของกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตวิญญาณในกลุ่มของอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เกษียณอายุราชการ ภายใต้ปรากฎการณ์สังคมผู้สูงวัยอันเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุนั้นมีเกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดี ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยกล่าวได้ว่ากลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เกษียณอายุนั้นเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต มีความมั่นคงทางการเงิน แต่อาจจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพ การปรับตัวในสถานะทางสังคมที่เปลี่ยนไป ความรู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยวตามสภาพสังคมที่ในปัจจุบัน ทำให้รู้สึกอ่อนแอและเกิดเป็นความท้อแท้ขึ้น ดังนั้นการส่งเสริมความตระหนักในตนเองเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงในช่วงปลายชีวิตให้เหมาะสมรวมไปถึงการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางจิตวิญญาณ อาจทำให้เกิดความเข้มแข็งภายในและเป้าหมายใหม่ในชีวิต การศึกษาในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี แนวคิดของการพัฒนาจิตวิญญาณด้วยกิจกรรมทางศิลปะ ด้วยกระบวนการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เกษียณอายุราชการ จำนวน 4 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า 1) หลักการของรูปแบบควรเชื่อมโยงกับความสนใจของแต่ละบุคคล และสนับสนุนแง่มุมของการตระหนักรู้ในตนเองที่มีความสัมพันธ์แง่ต่าง ๆ 2) จุดประสงค์ของรูปแบบควรเน้นที่การเห็นคุณค่าในตนเอง ความหมายของชีวิต การรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และการก้าวข้ามอัตตาของตน 3) กระบวนการของรูปแบบควรเป็นการสนทนาอย่างลึกซึ้งใคร่ครวญ กิจกรรมศิลปะควรขึ้นอยู่กับการเลือกความสนใจของแต่ละบุคคลและมีเงื่อนไขที่เหมาะสม 4)การประเมินรูปแบบควรอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาตนเองและการเปลี่ยนแปลงในปัจเจกบุคคล 
ผู้เขียน
597050003-7 น.ส. วีณา ธนาไชยสกุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0