2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความน่าเชื่อถือของการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่า และการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง ในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 2 ข้าง ความน่าเชื่อถือของการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่า และการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง ในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 2 ข้าง Reliability of Knee Flexors and Knee Extensors Muscle Strength Assessment and Five Times Sit to Stand Test in Elderly with Bilateral Knee Osteoarthritis  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มีนาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้้งที่่ 32 ประจำปี 2565 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สถาบันวิจัยและพัฒนา และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ 
     สถานที่จัดประชุม Online  
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 มีนาคม 2565 
     ถึง 25 มีนาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 32 
     Issue (เล่มที่) 32 
     หน้าที่พิมพ์ 1505-1512 
     Editors/edition/publisher สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง 
     บทคัดย่อ การทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง (Five times sit to stand test; FTSST) เป็นวิธีประเมินวัดความสามารถในการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และความสามารถในการทำนายการล้มในอาสาสมัครผู้สูงอายุได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่า และความน่าเชื่อถือในการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้งในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 2 ข้าง วัตถุประสงค์ในการวิจัยในครั้งนี้คือเพื่อศึกษาการหาค่าความน่าเชื่อถือของการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่า และความน่าเชื่อถือในการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้งในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 2 ข้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ที่มีอายุ 60 - 80 ปีที่อาศัยอยู่ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 คน และมีอาการข้อเข่าเสื่อมทั้ง 2 ข้าง โดยได้รับการประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford knee score; OKS) และมีระดับคะแนนอยู่ในระดับ 20-39 คะแนน ซึ่งบ่งชี้ถึงการมีภาวะข้อเข่าเสื่อมในระดับเริ่มต้นจนถึงในระดับปานกลาง โดยอาสาสมัครจะได้รับการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยเครื่อง Handheld dynamometer (HHD) และได้รับการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Intraclass correlation coefficient: ICC เพื่อหาค่าความน่าเชื่อถือภายในผู้วัด ผลการศึกษาพบว่าค่าความน่าเชื่อถือของการวัดความแข็งแรงกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่ามีค่าความน่าเชื่อถือภายในตัวผู้วัดอยู่ในระดับที่ดีมากทั้งสองข้าง (ICC=0.996, 0.991, p<0.001) ค่าเฉลี่ยของการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้ง เท่ากับ 11.42±1.79 วินาที และพบว่ามีค่าความน่าเชื่อถือภายในตัวผู้วัดอยู่ในระดับที่ดีมาก (ICC=0.999, p<0.001) จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าค่าความน่าเชื่อถือภายในตัวผู้วัดอยู่ในระดับที่ดีมากในด้านการวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่า และการทดสอบการลุกขึ้นยืน 5 ครั้งในผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 2 ข้าง ดังนั้นจากผลการทดลองของวิธีการวัดทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 2 ข้าง เพื่อใช้ในการวางแผนการติดตามการรักษาทางกายภาพบำบัด หรือในการศึกษาวิจัยในทางกายภาพบำบัดได้ 
ผู้เขียน
605150026-5 น.ส. นิภาพร พวงมาลา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รางวัลระดับดี 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านกีฬาและสุขภาพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล สถาบันวิจัยและพัฒนา และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 25 มีนาคม 2565 
แนบไฟล์
Citation 0