ชื่อบทความ |
การพัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุDEVELOPMENT OF ARTS ACTIVITIES MODEL TO ENHANCE SPIRITUALWELL-BEING FOR OLDER ADULTS |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
15 มิถุนายน 2565 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
มหาวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
13 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม-มีนาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2565 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
ประเทศไทยได้เข้าสู่สถานะสังคมสูงวัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นในอัตรา 4% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มจำนวนที่สูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ผู้สูงอายุกลายเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ในสังคมไทย ซึ่งระดับคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดี ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) อธิบายว่า “สุขภาพ คือการมีความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ” (กรมสุขภาพจิต, 2560) จากความหมายดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า นอกเหนือจากการใส่ใจดูแลด้านร่างกาย อารมณ์ และสภาพแวดล้อมแล้ว มิติทางด้านจิตวิญญาณก็มีความสำคัญกับผู้สูงอายุเช่นกัน ซึ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีความสนใจในการศึกษาและพัฒนาแง่มุมในมิตินี้มากขึ้น กระนั้น จิตวิญญาณก็ยังคงมีการตีความแง่มุมที่หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความหมายของชีวิต ความเชื่อทางศาสนา และยังมีความสนใจเพิ่มขึ้นในแง่มุมของจิตวิญญาณและความชราภาพ (MacKinlay, 2018) รวมไปถึงการทำความเข้าใจกับการเดินทางไปสู่บั้นปลายของชีวิต ด้วยเหตุที่จิตวิญญาณมีความเชื่อมโยงกับชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล จึงทำให้การศึกษามิติทางจิตวิญญาณมีพื้นที่ในกลุ่มชุมชนที่แตกต่างในหลากวัฒนธรรม มีงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับศิลปะที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตของผู้สูงอายุ ศิลปะการแสดงออก รวมถึงทัศนศิลป์ ดนตรี การเต้นรำ การเคลื่อนไหว หรือแม้กระทั่งการเขียน กิจกรรมศิลปะจึงได้รับความสนใจในฐานะที่เป็นเครื่องมือเสริมศักยภาพที่สามารถช่วยชะลอความเสื่อมถอยในกระบวนการชราภาพ รวมทั้งเป็นหนึ่งในกระบวนการรักษาเยียวยาสำหรับบุคคลที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง การรับรู้ในผลงานศิลปะสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งในด้านการบำบัดรักษาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต แต่กระนั้น กลับมีงานวิจัยเพียงเล็กน้อย ที่กล่าวถึงกลยุทธ์ของกิจกรรมหรือวิธีการดำเนินกิจกรรมศิลปะเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสุขภาวะทางจิตวิญญาณในบริบทไทย ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาและพัฒนารูปแบบกิจกรรมในการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตวิญญาณ เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทย โดยเป็นการเริ่มศึกษาจากกลุ่มอาจารย์เกษียณอายุ แล้วจึงต่อยอดไปยังกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป |
คำสำคัญ |
สุขภาวะทางจิตวิญญาณ, รูปแบบกิจกรรมศิลปะ, ผู้สูงอายุ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|