2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือของ โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 พฤษภาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2565 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 26 พฤษภาคม 2565 
     ถึง 27 พฤษภาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 359-373 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุปะสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อศึกษา จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 โรงเรียน จำนวน 320 คนกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยตารางของ Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติ ที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNI Modified ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 5 องค์ประกอบ คือ วิสัยทัศน์ร่วม การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน การส่งเสริมซึ่งกันและกัน และ ผลประโยชน์ร่วมกัน 2)สภาพปัจจุบัน ของการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 3.47 สำหรับสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.62 อยู่ในระดับ มากมากที่สุด 3) ความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการเครือข่ายความร่วมมือของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดไปต่ำสุด คือ ส่งเสริมซึ่งกันและกัน (PNl = 0.27) ปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน (PNl =0.26) ผลประโยชน์ร่วมกัน (PNl = 0.25) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (PNl = 0.23) และ ค่าความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ วิสัยทัศน์ร่วม (PNl = 0.22) 
ผู้เขียน
635050055-8 นาย วิทยา สุดรัก [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0