2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงอะลูมิเนียมแคดเมียมซัลไฟด์เลเยอร์เมกะดิไอด์สำหรับการสลายสีย้อม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 มิถุนายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     สถานที่จัดประชุม อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (รูปแบบการนำเสนองานออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 17 มีนาคม 2565 
     ถึง 17 มีนาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 376-389 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ได้สังเคราะห์อนุภาคแคดเมียมซัลไฟด์และอะลูมิเนียมแคดเมียมซัลไฟด์อัตราส่วนโมลของอะลูมิเนียมต่อแคดเมียมเท่ากับ 3 ต่อ 1 ในเลเยอร์เมกะดิไอด์ โดยปฏิกิริยาการแลกเปลี่ยนไอออนของ Cd2+ และ/หรือ Al3+ และปฏิกิริยาการเตรียมโลหะซัลไฟด์ภายในช่องว่างระหว่างเลเยอร์ของเมกะดิไอด์และทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ของวัสดุไฮบริดที่เตรียมได้ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์สำหรับผง ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี ยูวีสิเบิลและโฟโตลูมิเนสเซนส์ สเปกโทรสโกปี การดูดซับและการคายซับของแก๊สไนโตรเจน และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน จากรูปแบบการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์สำหรับผงของวัสดุไฮบริดที่สังเคราะห์ได้ พบว่า มีการขยายของช่องว่างระหว่างเลเยอร์ประมาณ 0.42 นาโนเมตร จากอินฟราเรดสเปกตราพบพีคที่สอดคล้องกับการสั่นของ Cd-S ในช่วงเลขคลื่น 705-708 cm-1 จากการขยายของเลเยอร์ และการปรากฏของพีคการสั่นของ Cd–S แสดงว่าเกิดอินเตอร์คาเลชันของอนุภาคแคดเมียมซัลไฟด์และอะลูมิเนียมแคดเมียมซัลไฟด์ในเลเยอร์เมกะดิไอด์ และรูปถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน ยังช่วยยืนยัน การเกิดอนุภาคของแคดเมียมซัลไฟด์ที่มีกระจายตัวที่ดีในเลเยอร์ จากสเปกตรัมของการดูดกลืนแสงและ/หรือสเปคตรัมการเปล่งแสง พบว่า ค่าเริ่มต้นของการดูดกลืนแสงและค่าการเปล่งแสงที่ความยาวคลื่นสูงสุดของวัสดุไฮบริดที่เตรียมได้เลื่อนไปที่ความยาวคลื่นต่ำลง เมื่อเปรียบเทียบกับแคดเมียมซัลไฟด์แสดงว่าเกิดอนุภาคแคดเมียมซัลไฟด์ขนาดเล็กในวัสดุไฮบริด ซึ่งเป็นผลจากปรากฏการณ์ควอนตัมคอนไฟน์เมนต์ การศึกษาการเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงในการสลายสีย้อมโรดามีน-6-จี ภายใต้แสงที่ตามองเห็น โดยใช้แคดเมียมซัลไฟด์ในเมกะดิไอด์และอะลูมิเนียมแคดเมียมซัลไฟด์ในเมกะดิไอด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา พบว่าวัสดุไฮบริดมีประสิทธิรูปในการสลายสีย้อมได้ดีกว่าการใช้แคดเมียมซัลไฟด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและยังพบว่าแคดเมียมซัลไฟด์ในเมกะดิไอด์ และอะลูมิเนียมแคดเมียมซัลไฟด์ในเมกะดิไอด์ สามารถสลายสีย้อมโรดามีน-6-จี ได้ถึงร้อยละ 13.8 และ 15.9 ตามลำดับ ในขณะที่แคดเมียมซัลไฟด์บริสุทธิ์สามารถสลายสีย้อมโรดามีน-6-จี ได้เพียงร้อยละ 6.1 ภายหลังฉายแสงช่วงที่ตามองเห็นเป็นเวลา 360 นาที ในขณะที่การศึกษาการสลายสีย้อมคองโกเรดพบว่าแคดเมียมซัลไฟด์สามารถสลายสีย้อมได้ดีกว่าวัสดุไฮบริด เนื่องจากสีย้อมมีประจุเป็นลบเช่นเดียวกันเลเยอร์เมกะดิไอด์ทำให้สีย้อมไม่สามารถดูดซับไว้บนพื้นผิวของวัสดุไฮบริดได้ส่งผลให้ประสิทธิรูปในการย่อยสลายลดลง 
ผู้เขียน
605020099-3 น.ส. ภัทรีภรณ์ ธงเงิน [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล การนำเสนอผลงานวิจัยระดับดีเยี่ยม ประเภทการนำเสนอแบบโปสเตอร์ กลุ่มเคมี และนวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 17 มีนาคม 2565 
แนบไฟล์
Citation 0