2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ รูปแบบการพัฒนาภาพลักษณ์ของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต1 A MODEL FOR DEVELOPMENT OF FEMALE ADMINIDTRATOR’S IMAGE IN SCHOOL UNDER THE MAHA SARAKHAM PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 พฤษภาคม 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2565 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 26 พฤษภาคม 2565 
     ถึง 27 พฤษภาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 120-133 
     Editors/edition/publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและกรอบความคิดด้านภาพลักษณ์ของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 และ 2) เพื่อพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาพลักษณ์ของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 เป็นการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความโดดเด่น เป็นแบบอย่างในด้านภาพลักษณ์ จำนวน 3 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากนั้นสอบถามและพิจารณาองค์ประกอบและกรอบแนวคิดภาพลักษณ์ของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม ซึ่งมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 7 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน และครู จำนวน 2 คน จากผลการศึกษาพบว่า 1) องค์ประกอบของภาพลักษณ์ของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 นั้น เกิดขึ้นในลักษณะ 3 มิติ ภายใต้กรอบองค์ประกอบของภาพลักษณ์ ได้แก่ 1) ตัวตนตามการรับรู้ (Self-concept) 2) ตัวตนตามที่เป็นจริง (Real Self) และ 3) ตัวตนที่บุคคลอยากจะเป็น (Ideal Self) โดยมีรายละเอียดกรอบแนวคิดด้านภาพลักษณ์ ดังต่อไปนี้ 1) ตัวตนตามการรับรู้ (Self-concept) คือ ภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ตัวตนที่ ผู้บริหารสตรีหรือผู้อื่นรับรู้ต่อการมีบทบาทของผู้บริหารสตรี ได้แก่ การเป็นผู้นำหญิงที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้ตนเอง เป็นผู้สร้างความน่าเชื่อถือให้องค์กร การประสานการสื่อสารในองค์กร สร้างเครือข่ายทางการบริหารและมีความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการ 2) ตัวตนตามที่เป็นจริง (Real Self) คือ ภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นจากการตระหนักรู้ ตัวตนที่แท้จริงของผู้บริหารสตรีหรือผู้อื่นรับรู้ต่อการมีบทบาทของผู้บริหารสตรี ได้แก่ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความแข็งแกร่งที่สร้างขึ้นให้เหมาะสมกับบทบาท มีมนุษยสัมพันธ์และวาทศิลป์ มีความมั่นใจในตนเอง และมีแนวคิดที่เปิดกว้าง 3) ตัวตนที่บุคคลอยากจะเป็น (Ideal self) คือ ภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นจากความ คาดหวัง ความต้องการเป็นและสิ่งที่ควรจะเป็น ควรจะพัฒนาตนเองให้เป็นของผู้บริหารสตรีและจากมุมมองเดียวกันของผู้อื่นรับรู้ต่อการมีบทบาทของผู้บริหารสตรี ได้แก่ มีภาวะผู้นำที่รอบด้าน มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน เป็นนักคิดวิเคราะห์สถานการณ์ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลบนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นจริงได้ในทุกสถานการณ์ 2) รูปแบบการพัฒนาภาพลักษณ์ของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ประกอบด้วย ชื่อรูปแบบ วิธีการพัฒนาและตัวชี้วัดสู่ความสำเร็จ ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสม ครอบคลุมทุกมิติของภาพลักษณ์ของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 สามารถปรับใช้ได้ในบริบทจริง 
ผู้เขียน
635050047-7 น.ส. ดลนภา รื่นกลาง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0