2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาตัวบ่งชี้ Disruptive Leadership สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 14 มิถุนายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการธรรมทรรศน์  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 22 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม – กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ1) ศึกษาองค์ประกอบ Disruptive Leadership ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ตรวจสอบโมเดลของ Disruptive Leadership สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหาร และครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวิธีกำหนดค่าพารามิเตอร์ 20:1 จำนวน 660 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยค่าคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha coefficient) โดยใช้วิธีของครอนบาค (Cronbach) ค่าความเที่ยง จากผลการตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยภาพรวมเท่ากับ 0.975 ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ของDisruptive Leadershipองค์ประกอบมีค่าตั้งแต่ 0.929 – 0.997 องค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐาน (Factor Loading) สูงที่สุด ได้แก่ ด้านความมุ่งมั่น (Persistent) คะแนนมาตรฐาน (Factor Loading) น้อยที่สุด ได้แก่ การเรียนรู้ตลอดเวลา (Lifelong Learning) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐาน (Factor Loading) เท่ากับ 0.929 2) การศึกษา ระดับDisruptive Leadership ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( =4.63, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความมุ่งมั่น (Persistent) =4.7, S.D. = 0.46) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ( = 4.55 , S.D. = 0.51).  
     คำสำคัญ Disruptive Leadership, ผู้บริหารสถานศึกษา, ตัวบ่งชี้  
ผู้เขียน
617050039-8 นาย สำเร็จ นางสีคุณ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0