2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การวิเคราะห์ปัจจัยด้านความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ส่งผลต่อความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ภายใต้โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) (ไม่ผ่านการอนุมัติ 1662104061) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 1 สิงหาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Journal of Educational Measurement Mahasarakham University : JEM-MSU) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 29 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม - มิถุนายน 2566
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ จากข้อมูลของโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากลหรือ PISA ปี 2018 ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของโครงการประเมินผล PISA 2018 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนที่มีอายุ 15 ปี ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 – 3 จำนวน 8,662 คน ในสถานศึกษา 290 แห่ง โดยวิเคราะห์คะแนนจากแบบประเมินความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ ในโครงการประเมินผล PISA2018 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์พหุระดับด้วยโปรแกรม HLM version 8.2 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ เมื่อนำตัวแปรมาจัดกลุ่มเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของ PISA2018 สรุปตัวแปร 2 ระดับ ประกอบด้วย (1) ระดับสถานศึกษา ได้แก่ อัตราส่วนจำนวนนักเรียนต่อครู ขนาดห้องเรียน ดัชนีการขาดแคลนครู งบประมาณจากรัฐบาล ดัชนีทรัพยากรการเรียน สื่อการเรียนการสอน ประเภทสถานศึกษา และขนาดชุมชนที่ตั้งของสถานศึกษา (2) ระดับนักเรียน ได้แก่ เศรษฐานะของครอบครัว ดัชนีความมั่งคั่งของครอบครัว เจตคติในการเรียน จากการวิเคราะห์พหุระดับพบว่า ตัวแปรระดับสถานศึกษา ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ขนาดห้องเรียนที่มีนักเรียนจำนวน 21-25 คน (β = 73.342) งบประมาณจากรัฐบาล (β = -0.747) อัตราส่วนจำนวนนักเรียนต่อครู (β = -1.791) ประเภทของสถานศึกษาเอกชน (β = -40.087) ตัวแปรระดับนักเรียน ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ทรัพย์สินในบ้าน (β = 16.318) ความมั่งคั่งของครอบครัว (β = -13.866) การศึกษาสูงสุดของผู้ปกครองระดับหลังมัธยมศึกษาก่อนอุดมศึกษา (β = -15.934)  
     คำสำคัญ ความฉลาดรู้ทางคณิตศาสตร์ คุณภาพการศึกษา 
ผู้เขียน
635050102-5 น.ส. มาริษา นามกุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0