2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัญหาการเยียวยาและชดเชยความเสียหายกรณีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 26 มีนาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วรสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวรสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล วิทยาลัยสันตพล 
     ISBN/ISSN 2586 - 9868 [Online] 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2566
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทความวิจัยเรื่องปัญหาการเยียวยาและชดเชยความเสียหายกรณีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสิทธิประโยชน์และปัญหาการเยียวยาความเสียหายกรณีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงานในประเทศไทย ให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรม เนื่องจากปัจจุบันค่าเสียหายที่ลูกจ้างซึ่งประสบอันตายจากการทำงานซึ่งเกิดจากมูลละเมิดตามพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ไม่สอดคล้องกับความร้ายแรงของการกระทำละเมิด ความร้ายแรงของอาการบาดเจ็บ และผลกระทบที่ลูกจ้างหรือทายาทของลูกจ้างจะได้รับ ตลอดจนสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติ เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพของลูกจ้าง ผลการศึกษาพบว่า การเยียวยาและชดเชยความเสียหายกรณีลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงานมีปัญหาสำคัญ คือ การใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายและการกำหนดค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มีปัญหาในการตีความตัวบทกฎหมายในประเด็นเขตอำนาจของศาลแรงงานส่งผลให้ลูกจ้างใช้สิทธิทางศาลน้อย และกำหนดการใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งคดีต้องครอบคลุมทุกด้านเป็นหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ยังไม่มีความชัดเจน ตลอดจนสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงานตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศกำหนด ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพในสภาพสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบัน จึงมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาคือ ประการแรก อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 กำหนดแนวทางการตีความให้การเรียกค่าเสียหายของลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงาน ไม่ว่าจะอยู่ในสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดไปแล้วอยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาสั่งคดีของศาลแรงงาน ประการที่สอง อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 48 และมาตรา 52 กำหนดค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะและค่าเสียหายเพื่อการเสียความสามารถประกอบการงาน เป็นค่าเสียหายพื้นฐานให้แก่ลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายจากการทำงานหากข้อเท็จจริงเข้าองค์ประกอบของข้อกฎหมาย และกำหนดค่าเสียหายทางจิตใจ ให้สอดคล้องกับความร้ายแรงของการกระทำละเมิด ความร้ายแรงของอาการบาดเจ็บ และผลกระทบที่ลูกจ้างหรือทายาทของลูกจ้างจะได้รับ ตลอดจนเป็นการป้องปรามให้นายจ้างผู้กระทำความผิดเกิดความเข็ดหลาบ และสร้างการรับรู้ให้แก่คนในสังคมตระหนักถึง การปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานอย่างถูกต้อง  
     คำสำคัญ การเยียวยา ; ชดเชย ; ความเสียหาย ; การประสบอันตราย 
ผู้เขียน
635420014-2 นาย ณรรฐพล สมอุดม [ผู้เขียนหลัก]
คณะสหวิทยาการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum