2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title องค์ประกอบกรอบความคิดสากล (Global Mindset) ของผู้บริหารและครูโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น  
Date of Distribution 25 May 2023 
Conference
     Title of the Conference การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ/นานาชาติ และงานบริหารการศึกษาสัมพันธ์ ครั้งที่ 46 ประจำปี 2566  
     Organiser สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ไทย (สพบท.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่ายบริหารการศึกษา  
     Conference Place หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
     Province/State กรุงเทพมหานคร  
     Conference Date 28 April 2023 
     To 28 April 2023 
Proceeding Paper
     Volume 46 
     Issue 978-616-93350-2-3 
     Page 468-479 
     Editors/edition/publisher กรอบความคิดสากล ครู ผู้บริหารสถานศึกษา 
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินองค์ประกอบของกรอบความคิดสากล (Global Mindset) ของผู้บริหารและครู โรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Method Reseach) ดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับองค์ประกอบของกรอบความคิดสากล จำนวน 15 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของกรอบความคิดสากล และ 2) ประเมินองค์ประกอบของกรอบความคิดสากล ตามกรอบที่ได้สังเคราะห์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบปลายเปิดเพื่อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของกรอบความคิดสากล (Global Mindset) ของผู้บริหารและครู โรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ปัญญาสู่สากล (Global Wisdom) มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ การมุ่งมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อถ่ายทอดความรู้สู่สากล และทักษะในการเรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) ปฏิสัมพันธ์สู่สากล (Global Interactions) มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ ทักษะในการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างเครือข่ายสากล และทักษะในการสื่อสารวัฒนธรรมและเปิดใจรับวัฒนธรรมสากล 3) วิสัยทัศน์มุ่งสู่สากล (Global Vision) มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ การสร้างอุดมคติค่านิยมในองค์กรสู่สากล การขยายเครือข่ายองค์กรท้องถิ่นสู่สากลให้เข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างวิสัยทัศน์ที่ปฏิบัติได้จริงสอดคล้องกับบริบทสากล 4) ความตระหนักในวัฒนธรรมสากล (Culture Awareness) มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ มีทัศนคติ จิตสำนึก ใส่ใจและเห็นคุณค่าในความแตกต่างทางวัฒนธรรม เปิดใจรับและเข้าใจถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมสากล และเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแสดงออกต่อวัฒนธรรมสากลอย่างพึงพอใจ ซึ่งผลการประเมินองค์ประกอบของกรอบแนวคิดกรอบความคิดสากล ของผู้บริหารและครู อยู่ระหว่าง 0.80–1.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกองค์ประกอบและตัวบ่งชี้  
Author
645050067-2 Mr. THANACHIT WAPAKAEW [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา ไม่เป็น 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum