2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ องค์ประกอบกรอบความคิดสากล (Global Mindset) ของผู้บริหารและครูโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 พฤษภาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ/นานาชาติ และงานบริหารการศึกษาสัมพันธ์ ครั้งที่ 46 ประจำปี 2566  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย ไทย (สพบท.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่ายบริหารการศึกษา  
     สถานที่จัดประชุม หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 เมษายน 2566 
     ถึง 28 เมษายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 46 
     Issue (เล่มที่) 978-616-93350-2-3 
     หน้าที่พิมพ์ 468-479 
     Editors/edition/publisher กรอบความคิดสากล ครู ผู้บริหารสถานศึกษา 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินองค์ประกอบของกรอบความคิดสากล (Global Mindset) ของผู้บริหารและครู โรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Method Reseach) ดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับองค์ประกอบของกรอบความคิดสากล จำนวน 15 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของกรอบความคิดสากล และ 2) ประเมินองค์ประกอบของกรอบความคิดสากล ตามกรอบที่ได้สังเคราะห์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบปลายเปิดเพื่อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของกรอบความคิดสากล (Global Mindset) ของผู้บริหารและครู โรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ปัญญาสู่สากล (Global Wisdom) มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ การมุ่งมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อถ่ายทอดความรู้สู่สากล และทักษะในการเรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม 2) ปฏิสัมพันธ์สู่สากล (Global Interactions) มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ ทักษะในการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อสร้างเครือข่ายสากล และทักษะในการสื่อสารวัฒนธรรมและเปิดใจรับวัฒนธรรมสากล 3) วิสัยทัศน์มุ่งสู่สากล (Global Vision) มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ การสร้างอุดมคติค่านิยมในองค์กรสู่สากล การขยายเครือข่ายองค์กรท้องถิ่นสู่สากลให้เข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างวิสัยทัศน์ที่ปฏิบัติได้จริงสอดคล้องกับบริบทสากล 4) ความตระหนักในวัฒนธรรมสากล (Culture Awareness) มี 3 ตัวบ่งชี้ คือ มีทัศนคติ จิตสำนึก ใส่ใจและเห็นคุณค่าในความแตกต่างทางวัฒนธรรม เปิดใจรับและเข้าใจถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมสากล และเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแสดงออกต่อวัฒนธรรมสากลอย่างพึงพอใจ ซึ่งผลการประเมินองค์ประกอบของกรอบแนวคิดกรอบความคิดสากล ของผู้บริหารและครู อยู่ระหว่าง 0.80–1.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกองค์ประกอบและตัวบ่งชี้  
ผู้เขียน
645050067-2 นาย ธนชิต วะปะแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum