2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลกับความเป็นครูมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 พฤษภาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการด้านการบริหารการศึกษาและการอุดมศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2566 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม ผ่านระบบ Zoom Meeting 
     จังหวัด/รัฐ สงขลา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 27 พฤษภาคม 2566 
     ถึง 27 พฤษภาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่) ISBN 978-616-271-703-1 
     หน้าที่พิมพ์ 427-440 
     Editors/edition/publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัล 2) ศึกษาระดับความเป็นครูมืออาชีพ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลกับความเป็นครูมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 278 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.987 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ IBM SPSS Statistics เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัล โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ค่านิยมการทำงานร่วมกันผ่านสังคมออนไลน์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล 2) ระดับความเป็นครูมืออาชีพ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสร้างแรงบันดาลใจ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 3) ผลการศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัลกับความเป็นครูมืออาชีพ ทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าเท่ากับ 0.769  
ผู้เขียน
645450029-2 น.ส. อภิสรา นาคโคตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะสหวิทยาการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0