2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาเทคโนโลยีควบคุมระดับน้ำเลี้ยงรากอัจฉริยะสำหรับโรงเรือนปลูกพืช Development of Intelligent Root Water Level Control Technology for Greenhouses 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 พฤษภาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 10 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     สถานที่จัดประชุม รูปแบบ Online 
     จังหวัด/รัฐ รูปแบบ Online 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 พฤษภาคม 2566 
     ถึง 28 พฤษภาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 10 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 933 
     Editors/edition/publisher NEUNIC2023 
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีควบคุมระดับน้ำเลี้ยงรากอัจฉริยะสำหรับโรงเรือนปลูกพืช โดยทำการทดสอบปลูกมะเขือเทศเชอรี่สายพันธุ์ kingfish ในโรงเรือนขนาด 4X6 ที่มีการควบคุมสภาวะแวดล้อมที่มีการทำงานจริงในภาคสนาม พื้นที่จังหวัดชลบุรี ช่วงเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ 2564-2565 โดย1.พัฒนาระบบเทคโนโลยีควบคุมระดับน้ำเลี้ยงรากอัจฉริยะสำหรับโรงเรือนปลูกพืช 2.เปรียบเทียบการเพาะปลูกในดิน กับเทคโนโลยีควบคุมระดับน้ำเลี้ยงรากอัจฉริยะสำหรับโรงเรือนปลูกพืช ซึ่งแบ่งการศึกษาทดสอบเปรียบเทียบเป็น 4 หัวข้อคือ 2.1.การทดสอบระบบควบคุมสภาวะแวดล้อม2.2.ทดสอบเปรียบเทียบการเจริญเติบโต2.3ทดสอบเปรียบเทียบค่าเปอร์เซ็นต์บริกซ์( Brix)2.4.ทดสอบเปรียบเทียบปริมาณผลผลิต ซึ่งจากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูกได้ ระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบควบความชื้นสัมพัทธ์สัมพัทธ์ โดยค่าที่เหมาะสมคือ ควบคุมอุณหภูมิ 30 - 41 °C + 2 °C ควบคุมความชื้น 50 ± 5% - 90 ± 5% เปรียบเทียบการเจริญเติบโตอัตราการเติบโตความสูงต้น เทคโนโลยีควบคุมระดับน้ำเลี้ยงรากอัจฉริยะสำหรับโรงเรือนปลูกพืชอัตราการเจริญเติบโต 3.9 cm/dayค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ± SD = 3.9 ±0.5 ในขณะที่ การปลูกในระบบดิน อัตราการเติบโต 1.8 cm/dayค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ± SD = 1.8 ±0.3 จึงเห็นได้ว่า อัตราการเติบโตเทคโนโลยีควบคุมระดับน้ำเลี้ยงรากอัจฉริยะสำหรับโรงเรือนปลูกพืช เจริญเติบโตเร็วกว่าเป็นสองเท่าของการปลูกในระบบดิน การทดสอบเปรียบเทียบค่าความหวาน เปอร์เซ็นต์บริกซ์( Brix) เทคโนโลยีควบคุมระดับน้ำเลี้ยงรากอัจฉริยะค่าความหวาน อัตราการเปอร์เซ็นต์บริกซ์ 13.8 บริกซ์( Brix) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ± SD = 13.8 ±0.8 ในขณะที่ การปลูกในระบบดินอัตราการเปอร์เซ็นต์บริกซ์ 8 บริกซ์ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ± SD = 8 ±0.8 อัตราการเปอร์เซ็นต์บริกซ์เทคโนโลยีควบคุมระดับน้ำเลี้ยงรากอัจฉริยะ ค่าความหวานจะมีค่าที่สูงกว่าการปลูกในระบบดิน จำนวนผลต่อต้นเทคโนโลยีควบคุมระดับน้ำเลี้ยงรากอัจฉริยะ ได้ดีกว่า 61.5 ผลต่อต้นค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ± SD = 61.5 ±8.1 ในขณะที่ การปลูกในระบบดินอัตราจำนวนผลต่อต้น 9.5 ผลต่อต้น ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ± SD = 9.5 ±3.7 เทคโนโลยีควบคุมระดับน้ำเลี้ยงรากอัจฉริยะ จำนวนผลผลิตที่มากกว่าระบบการเพาะปลูกในดิน 
ผู้เขียน
645040095-3 นาย พิมล ทัดศรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum