2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ The change of meanings of phra that phanom "การเปลี่ยนถ่ายความหมายของพระธาตุพนม"  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 19 พฤศจิกายน 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 16 (The 16th International Conference on Humanities and Social Sciences: IC-HuSo 2021 ) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ ผ่านระบบออนไลน์ (Online) 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 18 พฤศจิกายน 2564 
     ถึง 19 พฤศจิกายน 2564 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 16 
     Issue (เล่มที่) 16 
     หน้าที่พิมพ์ 581 
     Editors/edition/publisher งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 16 (The 16th International Conference on Humanities and Social Sciences: IC-HuSo 2021 ) 
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนถ่ายความหมายของพระธาตุพนมจากอดีตถึงปัจจุบัน ข้อมูลที่ปรากฏในบทความนี้ได้มากจากการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยชี้ว่า พระธาตุพนมซึ่งตั้งอยู่ชายแดนไทย-ลาวนั้นถูกเปลี่ยนถ่ายความหมายไปแต่ละยุคสมัย กล่าวคือ ยุคศึกเจ้าอนุวงศ์ อาณาจักรลาวได้นำพระธาตุพนมไปใช้ในมิติของอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญต่อทิศทางการเมืองในราชสำนัก ส่วนฝั่งสยามได้นำภาพสัญลักษณ์พระธาตุพนมไปใช้ในการแสดงสถานที่สำคัญของบริเวณภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งทำให้พระธาตุพนมเริ่มเป็นที่รู้จักของคนภูมิภาคอื่น จนกระทั่งถึงยุคสงครามอินโดจีน พระธาตุพนมถูกนำไปเชื่อมโยงกับความหมายใหม่อีกครั้ง คือ การสร้างความเป็นพลเมืองไทย และยุคสงครามเย็น กลายเป็นตราสัญลักษณ์สถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในภูมิภาคอีสาน การให้ความหมายใหม่จากชุดความรู้ด้านโบราณคดีของกรมศิลปากร และการผลิตซ้ำวาทกรรมของชุดความรู้ตำนานอุรังคธาตุ ในยุคพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงซึ่งมีการเข้ามาของสื่อสมัยใหม่และการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของจังหวัด พระธาตุพนมได้กลายเป็นพื้นที่เชิงเศรษฐกิจมีผู้คนเข้ามาจำหน่ายสินค้าภายในวัด และเริ่มมีการพัฒนาในรูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดมูลค่าในการแลกเปลี่ยน ตลอดจนปัจจุบันการสร้างพระธาตุพนมในประเทศสหรัฐอเมริกาและอินเดีย การยกระดับเสนอให้พระธาตุพนมกลายเป็น “มรดกโลกทางวัฒนธรรม” ถือเป็นการผลิตซ้ำความเชื่อเพื่อขยายเส้นวงขอบของวัฒนธรรมไปสู่ความเป็นสากล เป็นที่ยอมรับแก่คนทั่วโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกัน พระธาตุพนมถูกทำให้กลายเป็นพระธาตุประจำวันเกิด (วันอาทิตย์) เพื่อแสดงให้เห็นว่า พระธาตุพนมมีพระธาตุบริวารอีกเจ็ดองค์ที่สำคัญตั้งอยู่ในจังหวัดนครพนม อย่างไรก็ตาม ถึงแม้พระธาตุพนมจะถูกนำไปเชื่อมโยงกับความหมายใหม่โดยเฉพาะมิติทางการเมืองและเศรษฐกิจ ความหมายของการเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของผู้คนยังคงมีอยู่เสมอมาจนถึงปัจจุบัน  
ผู้เขียน
625080005-4 นาย อรัญ จำนงอุดม [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum