2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title ความสัมพันธ์ของอุณหภูมิกระเปาะแห้งและความร้อน การ ประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสของความร้อน ในเกษตรกรทำงานกลางแจ้ง 
Date of Distribution 19 May 2023 
Conference
     Title of the Conference การประชุมสัมมนาวิชาการครั้งที่ 30 ประจำปี 2565 ของสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.) 
     Organiser สมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (ส.อ.ป.) 
     Conference Place Best Western Plus Wanda Grand Hotel 
     Province/State นนทบุรี 
     Conference Date 25 September 2023 
     To 26 September 2023 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 16-24 
     Editors/edition/publisher วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของสมาคมอาชีวอนามัยและควำมปลอดภัยในการทำงาน 
     Abstract เกษตรกรรมในประเทศไทยยังคงต้องใช้แรงงานในการดำเนินงานเกษตรจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้มีเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสความร้อน แต่การจะให้ได้มาซึ่งค่าความร้อนนั้นต้องใช้เครื่องมือตรวจวัดความร้อนด้วยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจวัดที่มีราคาสูงและมีข้อจำกัดในการใช้งาน การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิของสภาพอากาศและความร้อนในพื้นที่เกษตรกรทำงานกลางแจ้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งหมด 8 พื้นที่ จากการสุ่มพื้นที่เพื่อเก็บตัวอย่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ช่วงเวลา คือ ธันวาคม พ.ศ.2563 – มกราคม พ.ศ.2564 และระหว่าง ธันวาคม พ.ศ. 2564 – เมษายน พ.ศ. 2565 ด้วยการตรวจวัดระดับความร้อน ด้วยอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) ในพื้นที่เพาะปลูกพืชทางการเกษตรและสังเกตกิจกรรมเพาะปลูก ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ ปลูกข้าว อ้อย และมันสำปะหลัง จากการตรวจวัดระดับความร้อนในการทำงาน พบอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบอยู่ระหว่าง 24.54 - 31.74 องศาเซลเซียส (ระดับ 1 ถึง ระดับ 2) และอุณหภูมิกระเปาะแห้งอยู่ระหว่าง 26.56 – 40.80 องศาเซลเซียส (ระดับ 1 ถึง ระดับ 4) ลักษณะกิจกรรมการเพาะปลูกส่วนใหญ่ จัดอยู่ในกลุ่มภาระงานหนัก (> 350 กิโลแคลอรี/ชั่วโมง หรือ ระดับ 3) ความเร็วลมเฉลี่ยอยู่ที่ 0.25 – 6.79 เมตร/วินาที ความชื้นสัมพัทธ์ 31.60% – 80.00% พบว่า ผลอุณหภูมิกระเปาะแห้งกับอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าความสัมพันธ์กันในทางบวกหรือมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่คล้อยตามกัน (r > 0.80) ทุกคู่ในพื้นที่การศึกษา ในการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการสัมผัสความร้อน โดยประเมินโอกาสสัมผัสความร้อนโดยอาศัยเมตริกระดับภาระงาน (ระดับภาระงานจากกิจกรรมเพาะปลูก) กับระดับอุณหภูมิ (อุณหภูมิกระเปาะแห้งเปรียบเทียบกับค่าอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ) พบว่า โอกาสสัมผัสความร้อนจากการใช้อุณหภูมิกระเปาะแห้งกับโอกาสสัมผัสความร้อนอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าความสัมพันธ์กันในทางบวกหรือมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่คล้อยตามกัน (r > 0.90) ทุกคู่ในพื้นที่การศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับโอกาสมากที่สุด (ระดับสูง ถึง ระดับสูงมาก) ดังนั้นอุณหภูมิกระเปาะแห้งที่สังเกตได้จากข้อมูลอุณหภูมิอากาศทั่วไปเป็นอีกทางเลือกที่เกษตรกรในพื้นที่กลุ่มตัวอย่างสามารถนำมาใช้เป็นตัวแทนอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบที่ต้องใช้ผลการตรวจวัดที่ยุ่งยากในเขตพื้นที่ตัวอย่าง เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสความร้อนในขั้นต้น จึงเสนอแนะให้มีการศึกษารูปแบบการประเมินความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากความร้อนด้วยตนเองของเกษตรกร โดยสามารถใช้อุณภูมิสภาพอากาศเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการประเมินเพื่อการวางแผนป้องกันตนเอง เพื่อลดโอกาสสัมผัสกับความร้อน หรือเพื่อบรรเทาอาการจากการเจ็บป่วยจากความร้อนในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการสัมผัสความร้อน และส่งเสริมให้มีการจัดทำโปรแกรมการเฝ้าระวังสุขภาพของเกษตรกรด้านโรคจากความร้อนในระยะยาวได้ต่อไป 
Author
635110082-2 Mr. PHIPHATPHONG LOKAEW [Main Author]
Public Health Master's Degree
625110065-1 Miss THIPAPSORN WICHATORN
Public Health Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum