2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การเปรียบเทียบบทบาทขุนสังขานต์แห่งล้านนาไทย และนางสังขานหลวงพระบาง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 2 กันยายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2566 (FAR9) “ทักษะ ศิลปะ ปรัชญาแห่งอุษาคเนย์” Philosophy and Practice of ASEAN Arts 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 กันยายน 2566 
     ถึง 2 กันยายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 913 
     Editors/edition/publisher
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิจัย การเปรียบเทียบบทบาทขุนสังขานต์แห่งล้านนาไทย และนางสังขาน เมืองหลวงพระบางประเทศลาวเพื่อเสนอมุมมองต่าง ๆ ของขุนสังขานต์แห่งล้านนาไทย และนางสังขาน เมืองหลวงพระบางประเทศลาว โดยอาศัยการศึกษา คติชน (เรื่องเล่า ตำนาน นิทาน)หรือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของขุนสังขานต์ และนางสังขาน เมืองหลวงพระบางสปป.ลาว การศึกษานี้มุ่งค้นหา บทบาทหน้าที่ขุนสังขานต์ แห่งล้านนาไทย และนางสังขานเมืองหลวงพระบางประเทศลาว ซึ่งคนพบ บทบาทของขุนสังขานต์ที่แตกต่างจากนางสังขานเมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว โดยวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีบทบาทหน้าที่นิยมของ William R. Bascom มาเป็นกรอบเพื่ออธิบายผลการศึกษาพบว่า ขุนสังขานต์ปรากฏในลักษณะบุคคลทั้งเพศหญิง และเพศชายสูงวัยที่เรียกว่าปู่สังขานต์และย่าสังขานต์ ทำหน้าที่นำพาสิ่งที่เป็นเคราะห์ไปจากสังคมล้านนาและขุนสังขานต์ที่ปรากฏในเอกสารโบราณล้านนากลับเป็นบุรุษเพศเท่านั้น ในแต่ละปีทรงอาภรณ์ และมีเคลื่องแต่งกาย บุคลิกที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับระบบปฏิทิน อันเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ปรากฎในพื้นที่ล้านนาเท่านั้น สะท้อนความเชื่อและความศรัทธาที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ตลอดจนจารีต ขนบ ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นทั้งใช้อธิบายที่มาและเหตุผลในการทำพิธีกรรม ในพิธีกรรมตามความเชื่อ ของชาวล้านนาสืบทอดกันมา ประเพณีมาตรฐานทางพฤติกรรม ธรรมเนียมปฏิบัติ ทำหน้าที่เป็นชุดคำพยากรณ์เพื่อหาทางออกให้แก่ความคับข้องใจ บรรเทาความทุกข์ ของมนุษย์ และนางสังขาน เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว ในฐานะตัวแทนธิดาของท้าวกบิลพรหม ซึ่งใช้อธิบายที่มาและเหตุผลในการทำพิธีกรรม ที่ทำหน้าที่นำเศียรของบิดา คือท้าวกบิลพรหมออกมาแห่ ซึ่งแสดงถึงความกตัญญู นอกจากนี้ ยังยกระดับความสำคัญ ในพิธีการแห่วออันศักดิ์สิทธิ์ ตลอดทั้งทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่สังคมที่แสดงถึงความกตัญญูที่ธิดา มีต่อบิดา ในปัจจุบันจะมีการประกวดนางสังขานเพื่อคัดเลือกหญิงสาวลูกหลานของชาวเมืองหลวงพระบางมาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าทำหน้าที่ให้ควาเพลิดเพลิน การประกวดนางสังขานในแต่ละปี เป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศ และได้ถูกนำเสนอ ทั้งทางโทรทัศน์เว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึงเอกสารการท่องเที่ยว ดึงดูดคนท้องถิ่นคนลาวและชาวต่างประเทศ มาอยู่ในพื้นที่ ของค่ำคืนแห่งการประกวด สร้างความเพลิดเพลิน และความประทับใจแก่ ผู้ได้พบเห็นเท่านั้น ซึ่งต่างจากขุนสังขานต์ทำหน้าที่เป็นชุดคำพยากรณ์เพื่อหาทางออกให้แก่ความคับข้องใจ และนางสังขานก็มีลักษณะของบุตรธิดาเพศหญิงทั้ง 7 แตกต่างจากขุนสังขานต์ที่เป็นเพศชาย หรือในเรื่องเล่าที่เล่าขานว่าเป็นทั้งหญิงและชายสูงอายุ ตลอดทั้งความเชื่อก็มีที่มาที่แตกต่างกันอีกด้วย  
ผู้เขียน
657220001-1 นาย จักรินทร์ แสงโสภา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0