2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ศึกษาความเป็นไปได้ในการวัดปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลังหลังการเก็บเกี่ยวด้วยวิธีอินฟราเรดย่านใกล้บนสายพานพานลำเลียง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 27 กรกฎาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ 24  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม School of Engineering and Innovation, Rajamangala University of Technology Tawan-ok & Thai Society of Agricultural Engineering (TSAE) 
     สถานที่จัดประชุม Oakwood Hotel & Residence Sri Racha 
     จังหวัด/รัฐ ชลบุรี/ประเทศไทย 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 26 กรกฎาคม 2566 
     ถึง 27 กรกฎาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 24 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 222-231 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการวัดแบบปริมาณแป้ง (Starch content; SC) ในหัวมันสำปะหลังสดหลังการเก็บเกี่ยวด้วยเทคนิคอินฟราเรดย่านใกล้บนสายพานลำเลียง ช่วงความยาวคลื่น 550-1000 nm ด้วยวิธีการวัดแบบสะท้อนแสงตลอดความยาวของตัวอย่างหัวมันสำปะหลัง สร้างสมการทำนายด้วยวิธี Partial least squares regression (PLSR) เทียบจากวิธีมาตรฐานการสกัดแป้งของ Krochmal and Kilbride ในการสกัดแป้งจากหัวมันสำปะหลัง และวิธีถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity : SG) ผลจากการศึกษาพบว่าเทคนิคสเปกโทรสโกปีอินฟราเรดย่านใกล้ที่นำค่าสเปกตราที่ได้มาทำการปรับแต่งทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธี Smoothing ร่วมกับวิธี Second derivative เมื่อนำไปสร้างแบบจําลองทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธีถ่วงจำเพาะ ให้ผลการทำนายปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลังดีที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation coefficient; R) เท่ากับ 0.66 ความผิดพลาดมาตรฐานของการทำนาย (SEP) เท่ากับ 3.40 และค่าความผิดพลาดเฉลี่ย (Bias) เท่ากับ 6.50% ส่วนแบบจำลองที่สร้างด้วยวิธีสกัดทางกล Krochmal and Kilbride ปรับแต่งทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธี Smoothing ร่วมกับวิธี Second derivative ให้ผลที่ดีที่สุดโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ R เท่ากับ 0.60 ความผิดพลาดมาตรฐานของการทำนาย (SEP) เท่ากับ 2.80 และค่าความผิดพลาดเฉลี่ย (Bias) เท่ากับ 1.20% ผลการศึกษาพบว่าสามารถนำไปแบ่งระดับปริมาณได้อย่างหยาบ และยังมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาพัฒนาเพื่อประยุกต์ใช้ในการทำนายปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลังแบบต่อเนื่องบนสายพานลำเลียงแต่ต้องทำการพัฒนาความแม่นยำในการทำนายและใช้วิธีการมาตรฐานในการหาปริมาณแป้งในการสร้างแบบจำลอง 
ผู้เขียน
645040122-6 นาย อรชุน พลนาคู [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0