2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประเมินสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 10 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมคณิตศาสตรศึกษา 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 3 กุมภาพันธ์ 2567 
     ถึง 4 กุมภาพันธ์ 2567 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 10 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 146-155 
     Editors/edition/publisher รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ 
     บทคัดย่อ ในสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล โลกยังคงมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่มีทักษะและสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ เป็นค่านิยมที่มีเพิ่มขึ้นสำหรับการเติบโตของสังคมในยุคปัจจุบัน (Shimizu, 2015) ซึ่งสมรรถนะทางคณิตศาสตร์เป็นความสามารถเชิงกลยุทธ์ที่สามารถกำหนด แสดงแทนและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ (NRC, 2001) การดำเนินการวัดสมรรถนะด้วยข้อสอบที่เรียกว่า SUKEN เป็นการวัดความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ของผู้เข้าสอบเอง และเพื่อเป็นการย้อนกลับไปประเมินสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากโรงเรียน (สถาบันรับรองสมรรถนะทางคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2560) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อจำแนกสมรรถนะจากแบบทดสอบการสอบวัดประเมินสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ผลการประเมินสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้เป็นผลการประเมินสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่อยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เข้าสอบการสอบวัดสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ ระดับที่ 6 ในการสอบครั้งที่ 4-5 จำนวน 184 คน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์กระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบวัดสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ (SUKEN) ระดับที่ 6 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของ The Mathematics Certification Institute of Japan (MCIJ, 2015) ผลการวิจัย พบว่า การวิเคราะห์สมรรถนะที่เกิดขึ้นจากแบบทดสอบการสอบวัดสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ พบว่า จำนวนข้อสอบที่ถูกจำแนกตามลักษณะสมรรถนะตามกรอบ MCIJ (2015) สมรรถนะที่ถูกพบมากที่สุดในแบบข้อสอบ คือ สมรรถนะด้านการใช้เลขคณิตในสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ด้านความสามารถในการนับเหรียญและธนบัตร การคำนวณและการโอนเงินได้อย่างถูกต้อง คิดเป็น ร้อยละ 33.33% การวิเคราะห์ผลการประเมินสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เกิดขึ้นตามกรอบเนื้อหาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของ MCIJ (2015) ทั้ง 7 ด้านนั้น ในการสอบครั้งที่ 4-5 พบว่านักเรียนเกิดสมรรถนะ 5 ด้านโดยมีร้อยละเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น โดยสมรรถนะด้านความสามารถในการแสดงรายการที่หลากหลาย เปรียบเทียบจำนวน เป็นต้น โดยใช้แผนภูมิวงกลม และกราฟแท่ง มีร้อยละเฉลี่ยมากที่สุด คำสำคัญ: การประเมินสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ การสอบวัดสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ เอกสารอ้างอิง: ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2560). คู่มือการสอบวัดสมรรถนะทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา. National Research Council. (2001). Adding it up: Helping children learn mathematics. J. Kilpatrick, J.Swafford, and B. Findell (Eds.). Washington, DC: National Academy Press. Shimizu (2015). SUKEN Official Guidebook. The Mathematics Certification of Japan. Tokyo, Japan.  
ผู้เขียน
625050111-3 นาย วรพัฒน์ เตาะอ้น [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0