2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ สภาวะทันตสุขภาพและผลกระทบของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 6 ตุลาคม 2554 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่22 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 6 ตุลาคม 2554 
     ถึง 7 ตุลาคม 2554 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 22 
     Issue (เล่มที่) P-BS015 
     หน้าที่พิมพ์ 217 
     Editors/edition/publisher บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้สัดส่วนของประชากรในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ “ภาวะประชากรผู้สูงอายุ” สุขภาพช่องปากจัดว่ามีผลกระทบสำคัญยิ่งต่อสุขภาพร่างกาย ทั้งด้านกายภาพ ด้านจิตใจ และการเข้าสังคม รวมทั้งคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้วย ปัญหาหลักของสภาวะช่องปากผู้สูงอายุไทย คือ โรคปริทันต์ ฟันผุ โดยเฉพาะรากฟันผุ และการสูญเสียฟัน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาวะทันตสุขภาพและผลกระทบของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลโพนสวรรค์ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม วิธีการวิจัย: ศึกษาในผู้สูงอายุเพศชาย 64 คน เพศหญิง 128 คนในระหว่างปีพ.ศ.2553 ซึ่งเก็บข้อมูลโดยการตรวจสภาวะทันตสุขภาพและประเมินผลกระทบของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตโดยใช้ดัชนีสุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต Oral health impact profile-49 (OHIP-49) ซึ่งแบบวัด OHIP-49 นี้ครอบคลุมรวมทั้งสิ้น 7 หมวด ประกอบด้วย ความจำกัดในการทำหน้าที่ ความเจ็บปวดทางกายภาพ ความรู้สึกไม่สบายทางจิตใจ การสูญเสียความสามารถทางกายภาพ การสูญเสียความสามารถทางจิตใจ การสูญเสียความสามารถทางสังคม และความด้อยโอกาสทางสังคม ผลการศึกษา: พบว่าผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ย ฟันผุ อุด ถอน เท่ากับ 9.41 ซี่ /คน ผู้สูงอายุร้อยละ 93.8 มีการสูญเสียฟันอย่างน้อย 1 ซี่ ซึ่งร้อยละ 28.1 เป็นผู้ที่มีการสูญเสียฟันมากกว่า 10 ซี่และร้อยละ 1.56 เป็นผู้ที่มีการสูญเสียฟันทั้งปาก โดยมีการสูญเสียฟันเฉลี่ย 8.4 ซี่/คน ร้อยละ 44.8 ของผู้สูงอายุมีสภาวะฟันสึก และพบว่า 8 ใน 10 ของผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีร่องลึกปริทันต์มากกว่า 4 มิลลิเมตร จากการศึกษาพบว่าผลกระทบของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตมีค่าคะแนนเฉลี่ย OHIP-49 เท่ากับ 40.02±27.57 โดยพบว่า สภาวะทันตสุขภาพส่งผลคุณภาพชีวิตในด้านความจำกัดในการทำหน้าที่มากที่สุด รองลงมาคือการสูญเสียความสามารถทางกายภาพ และความเจ็บปวดทางกายภาพ ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ระดับหลายตัวแปร (multivariable linear regression) พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ย OHIP-49 มีความสัมพันธ์กับการมีร่องลึกปริทันต์มากกว่า 4 มิลลิเมตร สภาวะฟันสึก เพศ และการรับบริการทันตกรรม สรุปผลการศึกษา: สภาวะโรคปริทันต์ และการมีฟันสึกส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ดังนั้นการจัดกลวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดโรคปริทันต์และสภาวะฟันสึกของผู้สูงอายุอาจช่วยลดผลกระทบของสภาวะทันตสุขภาพอันเนื่องมาจากโรคปริทันต์และการมีสภาวะฟันสึกต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ, สภาวะทันตสุขภาพ, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก Abstract Number of elderly people in Thailand is increasing very rapidly. It is expected that Thailand will be soon facing an era of “aging population”. Oral health is an essential component of health associated with physical, mental, social and quality of life. The oral health problems found in Thai elderly include periodontal diseases, dental caries, in particular root caries, and tooth loss. Objective: This study aimed to determine oral health status and its impact on quality of life of the elderly in Phonsawan hospital, Nakhonpanom province, during the year 2010. The study subjects included 64 males and 128 females age 52-85 years. The data were obtained through oral examination and oral health related quality of life (OHRQoL) was measured using the Oral health impact profile-49 (OHIP-49). The OHIP-49 questions were organized into seven dimensions including functional limitation, physical pain, physical disability, psychological discomfort, psychological disability, social disability and handicap. Results:The findings showed that 52.1 percent of people experienced dental caries (DMFT=9.41), approximately 93.8 percent of people experienced tooth loss at least 1 tooth , while tooth loss more than 10 = 28.1 percent, total tooth loss = 1.56 percent and mean tooth loss =8.40. About 44.8 percent of people had tooth attrition and 80 percent of people had pocket depth ≥ 4mm. In this study, the mean total OHIP-49 score was 40.03 (SD 27.57). The most prevalent domain was functional limitation followed by physical disability and physical pain. Findings from the final multivariable linear regression analysis showed that the lnOHIP-49 total score was directly associated with periodontal pocket depth ≥ 4mm, tooth attrition, sex and dental services. Conclusion: Conclusion can be drawn that periodontal diseases and tooth attrition have impacts on quality of life in these elderly people. Therefore, implementation of community programs for promotion, prevention and treatment of periodontal diseases and tooth attrition should be achieved. Keywords: elderly, oral health status, oral health relate quality of life  
ผู้เขียน
525130016-2 น.ส. ขนิษฐา ไชยประการ [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 10