2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อแมลงกินได้ในจังหวัดขอนแก่น: วิธีแบบจำลองทางเลือก  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 17 กรกฎาคม 2558 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการระดับชาติด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร เศรษฐศาสตร์ทรัพยากร เศรษฐศาสตร์อาหาร และธุรกิจเกษตร ครั้งที่ 4 ภูมคุ้มกันของเกษตรกรและภาคเกษตรไทย 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมบุรีศรีภู อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดสงขลา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 17 กรกฎาคม 2558 
     ถึง 17 กรกฎาคม 2558 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 201-212 
     Editors/edition/publisher รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล และ อาจารย์ไชยยะ คงมณี 
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคแมลงกินได้และความเต็มจ่ายใจของผู้บริโภคที่มีต่อคุณลักษณะของแมลงกินได้ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น โดยใช้แบบจำลองทางเลือก (Choice experiment) เข้ามาช่วยในการศึกษา ทำการเก็บตัวอย่างแบบเจาะจงคือ กลุ่มผู้บริโภคแมลงกินได้จำนวน 400 ตัวอย่าง และวิเคราะห์โดยใช้ แบบจำลองโลจิตแบบมีเงื่อนไข (Conditional Logit) ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคแมลงกินได้ในจังหวัดขอนแก่นมีทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับแมลงกินได้ในระดับค่อนข้างดีคือ ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคแมลงกินได้ เนื่องจากเรียนรู้จากประสบการณ์บริโภคแมลงกินได้ที่ผ่านมา แต่ความรู้ในเรื่องคุณค่าทางอาหารของแมลงกินได้ พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าแมลงกินได้มีคุณค่าทางอาหารสูง เนื่องจากไม่มีความรู้ในเรื่องคุณค่าทางอาหารของแมลงกินได้ว่ามีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งในส่วนนี้หากมีการประชาสัมพันธ์จะทำให้ผู้บริโภคมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแมลงกินได้ได้มากขึ้น ในส่วนความรู้สึกและความคิดเห็นผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า การบริโภคแมลงกินได้ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องแปลกหรือเรื่องน่ารังเกียจ และหากมีการพัฒนาแมลงกินได้ให้น่ารับประทาน มีบรรจุภัณฑ์สวยงาม มีตรารับรองความปลอดภัย จะทำให้สินค้ามีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับทัศนคติความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่เห็นว่า ผู้บริโภคอาจจะซื้อผลิตภัณฑ์แมลงกินได้เพิ่มขึ้นหากมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น ในส่วนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคแมลงกินได้พบว่า แมลงทอด, โปรตีนแมลงผง, มีฉลากบอกคุณค่าทางโภชนาการอาหาร, มีตรารับความปลอดภัย, มีแหล่งผลิต/แหล่งที่มา และห้างสรรพสินค้า มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 และผู้บริโภคมีความเต็มใจจ่ายต่อแมลงสะดิ้ง 1 ขีด ที่มีคุณลักษณะที่เป็นแมลงทอด 18.64 บาท/ขีด มีฉลากบอกคุณค่าทางโภชนาการอาหาร 4.65 บาท/ขีด มีตรารับความปลอดภัย 12.97 บาท/ขีด และบอกแหล่งที่มา/แหล่งผลิต 6.93 บาท/ขีด ในทิศทางบวก ขณะที่ระดับคุณลักษณะโปรตีนแมลงผง และจำหน่ายที่ห้างสรรพสินค้า ผู้บริโภคมีทิศทางความเต็มใจจ่ายติดลบ คือ -35.85 บาท/ขีด และ -6.70 บาท/ขีด ตามลำดับ  
ผู้เขียน
565210047-0 น.ส. ลัดดาวัลย์ เลิศจันทึก [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0