2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ประเมินสายพันธุ์มะเขือเทศรับประทานสดผลใหญ่ต่อโรคเหี่ยวเหลือง จากเชื้อ Fusarium wilt (Fusarium oxysporum f.sp. lycopersicirace 2) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 กรกฎาคม 2557 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 43 
     ฉบับที่
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2557 
     หน้า  
     บทคัดย่อ โรคเหี่ยวเหลืองเป็นปัญหาส􀄬ำคัญส􀄬ำหรับการผลิตมะเขือเทศทั่วโลก การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพันธุ์มะเขือเทศพันธุ์ดีและพันธุ์ที่มีรายงานว่าต้านทานต่อโรคเหี่ยวเหลืองจากหลายแหล่งรวบรวมเชื้อพันธุกรรม โดยทดลองในช่วงเดือนมีนาคม – เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ที่แปลงทดลอง เรือนทดลอง และห้องปฏิบัติการ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้มะเขือเทศทั้งหมด 46 สายพันธุ์ แบ่งต้นกล้าของ ทุกพันธุ์เป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มวางแผนการทดลองแบบ randomized complete block design แบ่งเป็นมะเขือเทศทดสอบ 44 สายพันธุ์ และใช้พันธุ์ I3R-1 เป็นพันธุ์ต้านทานตรวจสอบ และพันธุ์ Bonny Best เป็นพันธุ์อ่อนแอเปรียบเทียบ โดยกลุ่มแรกทดสอบในสภาพโรงเรือนเพื่อประเมินการตอบสนองต่อเชื้อ Fusarium oxysporum f.sp. lycopersicirace 2 (KK6 isolate) ทดสอบกรรมวิธีละ 20 ซ􀄬้ำๆ ละ 1 ต้น และกลุ่มที่ 2 ประเมินผลผลิตและลักษณะคุณภาพทางพืชสวนที่ดี ในแปลงปลูก ทดสอบ3 ซ􀄬้ำๆ ละ 15 ต้น จากการศึกษาพบว่ามะเขือเทศรับประทานสดผลใหญ่ที่น􀄬ำมาทดสอบมีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยส􀄬ำคัญยิ่งทางสถิติในทุกระดับความต้านทานมีระดับต้านทานต่อโรคเหี่ยวเหลือง (R) จ􀄬ำนวน 6 สายพันธุ์ คือ KKU-T44048, KKU-T44170, KKU-T44189, KKU-T44197, KKU-T44198 และ Walter และต้านทานในระดับปานกลาง (MR) จ􀄬ำนวน 6 สายพันธุ์ คือ KKU-T11008, KKU-T44012, KKU-T44018, KKU-T44078-2, KKU-T44195, และ KKU-T17036 ตามล􀄬ำดับนอกจากนั้นยังพบว่า เชื้อพันธุกรรมที่ให้ผลผลิตสูง คือ KKU-T24006, Thomas, PrefectD91, และ KKU-T34063 โดยให้ผลผลิต 3,280, 2,970, 2,600 และ 2,500 กรัม/ต้นตามล􀄬ำดับ 
     คำสำคัญ คัดเลือกพันธุ์, ต้านทานโรค, ความรุนแรงของโรค 
ผู้เขียน
555030015-4 น.ส. วัชรา นาทา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0