2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี : พหุกรณีศึกษา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ "กรศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประจำปี 2560" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     สถานที่จัดประชุม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 260-267 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฎการณ์การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ ในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี ด้วยวิธีพหุกรณีศึกษา (Multi-Cases Study) จำนวน 2 วิทยาลัย คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาขนาดเล็ก และวิทยาลัยอาชีวศึกษาขนาดใหญ่ โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ครูผู้รับผิดชอบงานทวิภาคีในสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษา เจ้าของสถานประกอบการ ครูฝึกในสถานประกอบการ และผู้รับบริการ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกและแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ตามกรอบแนวคิดการวิจัย ตรวจสอบข้อมูลด้วย เทคนิควิธีการแบบสามเส้า (Triangulation Technique) และนำเสนอผลการวิจัยเพื่อตอบ วัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยนำเสนอตารางแสดงข้อมูลผลการศึกษาของทั้ง 2 แห่ง และสรุปเป็นแผนภาพผังความคิด (Concept Mapping) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ วิทยาลัยอาชีวศึกษาทั้งสองขนาดมีการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคสู่ความเป็นเลิศด้วยการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ กับสถานประกอบการ มีการจัดการศึกษาที่มุ่งผลสำเร็จทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา สถานประกอบการร่วมฝึกอาชีพให้กับผู้เรียนในสถานประกอบการ 2) ด้านคุณภาพการจัดการเรียนการสอน วิทยาลัยเปิดโอกาสให้สถานประกอบการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการฝึกอาชีพ 3) ด้านคุณภาพการบริหารจัดการ สถานศึกษามีการติดตามและประเมินผล มีการกำหนดผู้รับผิดชอบงานระบบทวิภาคีที่ชัดเจน และส่งเสริมให้ครูไปฝึกงานในสถานประกอบการ และ 4) ด้านความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ พบว่า สถานศึกษาทั้งสองแห่งให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายร่วมกับสถานประกอบการเลือกทำความร่วมมือ หรือ MOU กับสถานประกอบที่มีคุณภาพและยินดีร่วมจัดการศึกษาระบบทวิภาคี และมีการประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนพัฒนาแผนการฝึกอาชีพให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามความต้องการของชุมชน และประเทศ  
ผู้เขียน
585050170-3 น.ส. สุธานี โสโท [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0