2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างแบบจำลอง: ผลที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง สมบัติของสารประกอบไอออนิก 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 “บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 
     จังหวัด/รัฐ พิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) GNRU2017 
     Issue (เล่มที่) O:ED08 
     หน้าที่พิมพ์ 17-18 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างแบบจำลอง เป็นรูปแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติการทดลองและนำข้อมูลจากการทดลองไปใช้เป็นหลักฐานในการปรับปรุงแบบจำลอง ซึ่งการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบจำลองนี้สามารถช่วยพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักเรียนได้ เนื่องจากมีลักษณะเด่น คือ การให้นักเรียนได้สร้างรูปแบบความเข้าใจผ่านแบบจำลอง มีการทดสอบแบบจำลองด้วยการปฏิบัติการทดลอง และนำหลักฐานที่ได้มาปรับแก้แบบจำลองโดยเชื่อมโยงระหว่างการใช้หลักฐานและเหตุผล ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างแบบจำลองกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของสารประกอบไอออนิก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างแบบจำลอง เรื่อง สมบัติของสารประกอบไอออนิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยที่ยังไม่เข้าขั้นการทดลอง แบบกลุ่มตัวอย่างเดียวที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง แบบวัดการสร้างแบบจำลองเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้เพื่อประเมินความสามารถในการสร้างแบบจำลองใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การอธิบาย การเปรียบเทียบ การระบุสิ่งที่เป็นนามธรรม และการระบุคำสำคัญ สถิติ Wilcoxon signed rank นำมาใช้วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความสามารถในการสร้างแบบจำลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z=-5.221, p<0.05) แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างแบบจำลองสนับสนุนความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักเรียน เนื่องจากแบบจำลองเป็นตัวแทนความคิดในการอธิบายร่วมกับการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์จึงช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาและเรียนรู้อย่างมีความหมาย 
ผู้เขียน
585050257-5 น.ส. กานต์ชนก เพ็งวงษา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลดีเด่น การนำเสนอผลงานวิจัย (ภาคบรรยาย) กลุ่มการศึกษา กลุ่ม 1 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล เครือข่าบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 21 กรกฎาคม 2560 
แนบไฟล์
Citation 0