2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การสนับสนุนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในการเขียนโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นการโต้แย้ง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาวิชาการ นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทร์ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม 
     จังหวัด/รัฐ พิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) GNRU2017 
     Issue (เล่มที่) O:ED45 
     หน้าที่พิมพ์ 84-85 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนประกอบสำคัญในการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ เนื่องจากการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เป็นศูนย์รวมของกระบวนการให้เหตุผลและการพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ ดังนั้นครูควรจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง สารละลาย ที่เรียนรู้ด้วยการสืบเสาะที่เน้นการโต้แย้ง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน โดยทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบวัดการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียน ที่ครอบคลุม 3 มโนมติ ในเรื่องสารละลาย ผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลผลการวิเคราะห์ความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนทั้งก่อนและหลังเรียน ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เช่น ร้อยละ และสถิติเชิงอ้างอิง เช่น Wilcoxon signed-ranks test เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ผลการวิจัย พบว่า 1) ก่อนเรียนนักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 58.06) มีความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับต่ำ นั่นคือ นักเรียนไม่สามารถให้หลักฐาน ให้เหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้ง และเหตุผลในการโต้กลับได้ แต่หลังจากการจัดการเรียนรู้พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาระดับความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เป็นระดับปานกลาง โดยนักเรียนสามารถให้ข้อกล่าวอ้าง และหลักฐาน ได้ดีขึ้น 2) ความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 กล่าวคือ นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน แสดงว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะที่เน้นการโต้แย้งช่วยสนับสนุนความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง สารละลายได้ คำสำคัญ: การโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นการโต้แย้ง สารละลาย  
ผู้เขียน
585050239-3 น.ส. อัปสร พันธ์ฤทธิ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลดีเด่น การนำเสนองานวิจัย (ภาคบรรยาย) กลุ่มการศึกษา กลุ่ม5 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล เครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 21 กรกฎาคม 2560 
แนบไฟล์
Citation 0