2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวก ที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่ โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 3 สิงหาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 11 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 31 กันยายน 2558 โดยมีวิธีการศึกษาแบบ Unmatched case-control โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มศึกษา (Case) คือผู้ป่วยวัณโรคที่เสมหะบวกเสียชีวิตระหว่างการรักษาและได้รับการประเมินผลการรักษาเป็นตาย (Died) และกลุ่มควบคุม (Control) คือผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกที่มีชีวิตอยู่ตลอดการรักษาและได้รับการประเมินผลการรักษาเป็นรักษาหาย (Cured) หรือรักษาครบ (Completed) รวบรวมข้อมูลจากบันทึกการรักษาของโรงพยาบาล วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทีละตัวแปร โดยใช้ Simple logistic regression กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Odds ratio (OR) และช่วงความเชื่อมั่น 95% และวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุโดยใช้ Multiple logistic regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วย Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% ผลการวิจัยพบว่า เพศชายมีโอกาสเสียชีวิตเป็น5.72 เท่าเมื่อเทียบกับเพศหญิงเป็น 5.72 เท่า (ORadj=5.72; 95%CI=1.40-23.26) ผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำหรือรักษาซ้ำมีโอกาสเสียชีวิตเป็น 17.06 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยรายใหม่ (ORadj=17.06; 95%CI=2.23-113.42) ผู้ที่มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/ อสม./ ผู้นำชุมชนกำกับการกินยามีโอกาสเสียชีวิตเป็น 5.05 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ญาติ/บุคคลในครอบครัว/ไม่มีผู้กำกับการกินยา (ORadj=5.05; 95%CI=1.47- 17.28) ผู้ป่วยที่มีผลเสมหะพบเชื้อ/ไม่มีผลตรวจมีโอกาสเสียชีวิตเป็น 15.63 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีผลเสมหะไม่พบเชื้อ (ORadj=16.63 ; 95%CI=44.94-49.45) ผู้ที่เคยเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในระหว่างการรักษาวัณโรคมีโอกาสเสียชีวิตเป็น 43.83 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ไม่เคยรับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน(ORadj=43.83; 95%CI=11.98-160.29) ผู้ที่มีอาการข้างเคียงจากยารักษาวัณโรคมีโอกาสเสียชีวิตน้อยกว่าผู้ที่ไม่มีอาการ (ORadj=0.217; 95%CI=0.06-0.67) ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำหรือรักษาซ้ำควรมีระบบการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อลดอัตราป่วยในผู้ป่วยวัณโรค  
     คำสำคัญ การเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวก, ปัจจัยการเสียชีวิต, วัณโรค  
ผู้เขียน
585110096-6 น.ส. ศิรินธร ณ หนองคาย [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0