2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่เน้นการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กรณีศึกษา: โรงเรียนหนองเรือวิทยา อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 17 สิงหาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและประกวดนวัตกรรมบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 1 “เทิดพระเกียรติวันแม่แห่งชาติ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์ประชุมนานาชาติดิเอ็มเพรส โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่ 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 17 สิงหาคม 2560 
     ถึง 18 สิงหาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1546-1555 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 3) เพื่อศึกษาการคิดวิเคราะห์ ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/10 จำนวน 33 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนหนองเรือวิทยา ใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสะท้อนผลการปฏิบัติ และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ มีลำดับขั้นตอนการทำกิจกรรม 5 ขั้น ประกอบด้วย (1) ขั้นระบุปัญหา (2) ขั้นค้นหาแนวคิดที่เกี่ยวข้อง (3) ขั้นวางแผนและพัฒนา ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนย่อยแทรกการคิดวิเคราะห์ดังนี้ (3.1) การกำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ (3.2) การกำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์ (3.3) การกำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์ (3.4) การพิจารณาแยกแยะ และ (3.5) การสรุปคำตอบ (4) ขั้นทดสอบและประเมินผล (5) ขั้นนำเสนอผลลัพธ์ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทั้งหมด เท่ากับ 16.09 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.45 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 84.84 ของนักเรียนทั้งหมด 3) นักเรียนมีคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยเท่ากับ 7.48 คิดเป็นร้อยละ 74.80 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82 ของนักเรียนทั้งหมด 
ผู้เขียน
585050223-8 น.ส. จารุวรรณ สันทา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0