2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์และวิถีทางมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบประสาท ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับวิธีการนำเสนอตัวแทนความคิดที่หลากหลาย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 “บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  
     สถานที่จัดประชุม ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดพิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 21 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 21 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) GNRU2017 
     Issue (เล่มที่) O:ED08 
     หน้าที่พิมพ์ 82-92 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์และศึกษาวิถีทางมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบประสาท ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับวิธีการนำเสนอตัวแทนความคิดที่หลากหลาย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 17 คน ภาคปลาย ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบยกกลุ่ม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้และแบบวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบประสาท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละและสถิติ Wilcoxon signed-rank test ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบประสาท หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังเรียนและหลังเรียน 1 เดือนความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังเรียนนักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบประสาท ที่ระดับมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific understanding หรือ SU) คิดเป็นร้อยละ 70.59 และหลังเรียน 1 เดือนนักเรียนยังคงมีความคงทนในความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ และผลการศึกษาวิถีทางมโนมติทางวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีวิถีทางมโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบประสาท รวม 15 รูปแบบ โดยส่วนใหญ่มีการพัฒนาวิถีทางมโนมติทางวิทยาศาสตร์แบบก้าวหน้ามากและคงที่ที่ระดับมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific understanding หรือ SU) แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับวิธีการนำเสนอตัวแทนความคิดที่หลากหลายสามารถส่งเสริมความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้สูงขึ้นและมีความคงทนทางการเรียนรู้ 
ผู้เขียน
585050040-6 น.ส. ชนิกา สูงสันเขต [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0