2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประยุกต์ใช้กระบวนการตัดสินใจจากหลากหลายปัจจัยแบบคลุมเครือ (Fuzzy Multi Attribute Decision Making, FMADM) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพในการพัฒนา ระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองภูมิภาคของประเทศไทย  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 19 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) 
     สถานที่จัดประชุม เดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 
     จังหวัด/รัฐ นครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 18 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 20 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 22 
     Issue (เล่มที่) 22 
     หน้าที่พิมพ์ 364-373 
     Editors/edition/publisher บริษัท โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง จำกัด 505-507 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000 
     บทคัดย่อ เมืองหลักในภูมิภาคของประเทศไทยในปัจจุบัน มีการพัฒนาและเติบโตในด้านเศรษฐกิจ ประชากร การจ้างงาน และการเพิ่มขึ้นของจำนวนของยานพาหนะ ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด อุบัติเหตุจราจร ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมืองหลักส่วนใหญ่ยังไม่มีการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ จากปัญหาดังกล่าวควรพิจารณาถึงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามความเหมาะสมของแต่ละเมืองตามศักยภาพในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ โดยกระบวนการพิจารณาศักยภาพในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะของแต่ละเมือง จะใช้ประยุกต์ใช้วิธี “กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับขั้น” (Analytic Hierarchy Process, AHP) และวิธี Fuzzy Multi Attribute Decision Making Method (FMADM) ในจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะของแต่ละเมือง โดยจะพิจารณาจากปัจจัยหลักที่สำคัญได้แก่ ปัจจัยด้านการพัฒนาเมือง ปัจจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านการพัฒนาการขนส่ง และปัจจัยด้านศักยภาพการพัฒนา และยังมีปัจจัยย่อยภายใต้ปัจจัยหลักอีกหลายปัจจัย พบว่าเมืองที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะมีทั้งสิ้น 18 เมือง ศักยภาพปานกลาง 43 เมือง และศักยภาพขั้นพื้นฐาน 17 เมือง คำสำคัญ: ปัจจัยการตัดสินใจที่หลากหลาย, การประยุกต์ใช้วิธีวิเคราะห์ตามลำดับชั้น, ตัวเลขฟัซซี่, การจัดลำดับเมืองตามศักยภาพในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเมืองภูมิภาค  
ผู้เขียน
575040035-4 นาย ณัฐพจน์ ฝ่ายบุญ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0