2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพสารสนเทศ สำหรับเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ด้วยแนวทางผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 12 ตุลาคม 2560 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 40 
     ฉบับที่ 156 
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2560 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาตัวบ่งชี้คุณภาพสารสนเทศที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินคุณภาพสารสนเทศบนเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแนวทางของการวิจัยนี้ ได้ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นและความต้องการของผู้ใช้ในประเทศไทย จากธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจบริการที่พัก ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ (1) วิจัยเชิงคุณภาพ โดยได้วิเคราะห์โครงสร้างและเนื้อหาของเว็บไซต์และวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้สารสนเทศ จากผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ 30 คน และผู้เชี่ยวชาญ 5 คนและ (2) วิจัยเชิงปริมาณ โดยนำรายการคุณลักษณะที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพมายืนยันด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งมีผู้บริโภคที่มีประสบการณ์จำนวน 595 คนที่ตอบแบบสอบถาม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกใช้เว็บไซต์ประเภทตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวิเคราะห์รายการสารสนเทศบนเว็บเหล่านี้พบว่าประกอบด้วยรายการสารสนเทศเชิงพาณิชย์และไม่ใช่เชิงพาณิชย์ รวมถึงสารสนเทศเพื่อการดำเนินธุรกรรม โดยมีการจัดวางโครงสร้างสารสนเทศและระบบนำทางที่เอื้อต่อผู้บริโภคในการเข้าถึงและใช้งานสารสนเทศได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว โดยคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล และได้รายการคุณลักษณะของคุณภาพสารสนเทศรวม 68 รายการ ซึ่งได้นำไปใช้ในการออกแบบแบบสอบถามออนไลน์ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์มาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ได้ผลสรุปโดยรวมว่า ทั้งธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจบริการที่พักผู้บริโภคจะแสวงหาเว็บไซต์จากเพื่อนหรือค้นหาด้วยตนเองจาก Googleโดยเลือก URL ที่ปรากฏในลำดับต้นๆ จากนั้นจะเข้าไปพิจารณาหรือประเมินความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์เป็นลำดับแรก โดยพิจารณาข้อมูลของตัวเว็บไซต์นั้นๆ ได้แก่ ความมีชื่อเสียง ประสบการณ์ทางธุรกิจ การรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ นโยบายต่างๆ และความพึงพอใจและข้อความรีวิวจากผู้ที่เคยซื้อหรือใช้บริการ ส่วนการพิจารณาคุณภาพสารสนเทศพบว่าผู้บริโภคให้น้ำหนักกับคุณภาพสารสนเทศที่อยู่ในกระบวนการสั่งซื้อสินค้าและกระบวนการชำระเงินมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วยตัวบ่งชี้คุณภาพ 5 ตัว ได้แก่ ด้านความถูกต้อง ความครบถ้วน การเข้าถึงสารสนเทศหรือการใช้งานได้ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ และความคงเส้นคงวาหรือมีความแนบนัยสำหรับรายการคุณลักษณะของตัวบ่งชี้คุณภาพที่มีค่าเฉลี่ยสูงในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกคือความถูกต้องของการคำนวณยอดรวมสินค้า ส่วนในกลุ่มธุรกิจบริการที่พักคือความถูกต้องของการจัดหมวดหมู่ที่พัก  
     คำสำคัญ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง พฤติกรรมการใช้สารสนเทศ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คุณภาพสารสนเทศ 
ผู้เขียน
557080031-0 นาง วิชุดา ไชยศิวามงคล [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0