2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ บทบาทของพระเจนดุริยางค์ในฐานะนักวิชาการทางดนตรีที่มีอิทธิพลต่อลูกศิษย์ กรณีศึกษา ชลหมู่ ชลานุเคราะห์  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 30 มิถุนายน 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม "ศิลปกรรมวิจัย"ครั้งที่ 3 เศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเจริญธานีขอนแก่น  
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 14 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 478-491 
     Editors/edition/publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ ในการวิจัยเรื่องบทบาทของพระเจนดุริยางค์ในฐานะนักวิชาการทางดนตรีที่มีอิทธิพลต่อลูกศิษย์ กรณีศึกษา ชลหมู่ ชลานุเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพระเจนดุริยางค์ในฐานะนักวิชาการทางดนตรีและเพื่อศึกษาอิทธิพลในฐานะนักวิชาการทางดนตรีของพระเจนดุริยางค์ที่มีต่อชลหมู่ ชลานุเคราะห์ เป็นการวิจัยโดยใช้ระเบียบเชิงคุณภาพ ในลักษณะของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ และการวิจัยเอกสาร ทำการรวบรวมข้อมูลเอกสารสำคัญที่มาจากหอสมุด ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และเว็บไซต์ แล้วจึงทำการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และสรุปข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า พระเจนดุริยางค์หรือปิติ วาทยะกร มีบทบาทในฐานะนักวิชาการดนตรีที่เกี่ยวกับการแปล และเรียบเรียงตำราดนตรีจากต่างประเทศ โดยมีทั้งตำราทฤษฎีดนตรีเบื้องต้น จนถึงทฤษฎีดนตรีขั้นสูง จากการแปลและเรียบเรียงตำราดนตรีจากต่างประเทศนี้เอง เป็นสาเหตุที่พระเจนดุริยางค์ได้บัญญัติศัพท์เฉพาะทางดนตรีเป็นภาษาไทยจำนวน 896 คำ โดยจำแนกออกเป็นกลุ่มศัพท์บัญญัติที่เป็นภาษาไทยและภาษาบาลีสันสกฤตจำนวน 414 คำ การผสมผสานระหว่างคำไทยและภาษาต่างประเทศจำนวน 136 คำ การทับศัพท์จำนวน 107 คำ ตามลำดับ และนิยามศัพท์ 239 คำ นอกจากนี้ยังพบว่าชลหมู่ ชลานุเคราะห์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่ได้รับการอบรมสั่งสอนด้านดนตรีอย่างเข้มข้นจากพระเจนดุริยางค์ ได้มีผลงานในการเขียนคู่มือทางดนตรีที่เรียบเรียงมาจากแบบเรียนดุริยางคศาสตร์สากล ฉบับทูลเกล้าทูล-กระหม่อมถวายของพระเจนดุริยางค์ ที่นำมาเผยแพร่จำหน่ายให้แก่สมาชิกสามัคยาจารย์ในปีพ.ศ. 2522 โดยมีชื่อว่า “คู่มือคำถาม – คำตอบ วิชาดุริยางคศาสตร์สากลเบื้องต้น”  
ผู้เขียน
567220003-8 นาย บพิตร เค้าหัน [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0