2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ กรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหา เรื่องหลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม (ภาษาซี)สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 26 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว แอนด์ คอนเว็นชั่น เซ็นเตอร์ 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 26 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 27 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2017 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 27-32 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกรอบแนวคิดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหา เรื่อง หลักการพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม (ภาษาซี) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน คือ (1) ด้านเนื้อหา (2) ด้านสื่อบนเครือข่าย และ (3) ด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงพัฒนาการ การวิจัยพัฒนาประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ (1) ขั้นตอนการออกแบบ (2) ขั้นตอนการพัฒนาและ (3) ประเมินประสิทธิภาพของกรอบการออกแบบ วิธีการวิจัยคือการวิเคราะห์เอกสาร ขั้นตอนดังกล่าวเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักการและทฤษฎี (2) สังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีตามพื้นฐานด้านบริบท ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ด้านสื่อและเทคโนโลยี ด้านการแก้ปัญหาสำหรับฐานการเขียนโปรแกรม และด้านศาสตร์การสอน (3) สังเคราะห์กรอบการออกแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) สังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี 5 องค์ประกอบดังนี้ทฤษฎีตามพื้นฐานด้านบริบท ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ด้านสื่อและเทคโนโลยี ด้านการแก้ปัญหาสำหรับฐานการเขียนโปรแกรม และด้านศาสตร์การสอน 2) เพื่อสังเคราะห์กรอบการออกแบบทางทฤษฎีของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการแก้ปัญหา มี 7 องค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1) สถานการณ์ปัญหา 2) แหล่งเรียนรู้ 3) การร่วมมือกันแก้ปัญหา 4) ศูนย์ส่งเสริมการแก้ปัญหา 5) กรณีที่เกี่ยวข้อง 6) ฐานความช่วยเหลือ 7) การโค้ช ผลจากการศึกษาประสิทธิภาพ พบว่ามีประสิทธิภาพในด้านเนื้อหา ด้านสื่อบนเครือข่าย และด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 78.9 
ผู้เขียน
585050056-1 น.ส. ปวีณา ไชยสมบูรณ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0