2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งของประเทศไทยต่อการขนส่งสินค้าน้ำตาล กรณีศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 18 กรกฎาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 22 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)  
     สถานที่จัดประชุม เดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา  
     จังหวัด/รัฐ นครราชสีมา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 18 กรกฎาคม 2560 
     ถึง 20 กรกฎาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 22 
     Issue (เล่มที่) 22 
     หน้าที่พิมพ์ 406-413 
     Editors/edition/publisher บริษัท โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง จำกัด 505-507 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง นครราชสีมา 30000  
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ ศักยภาพ แนวโน้ม สภาพปัญหาและอุปสรรคของการขนส่งสินค้าน้ำตาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ศึกษาผลกระทบจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งของประเทศไทย โดยเน้นที่ระบบโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) ที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยการสำรวจภาคสนาม พร้อมทั้งสัมภาษณ์ผู้ประกอบการต่าง ๆ จากการสำรวจภาคสนามและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ พบว่าผู้ประกอบการยังเน้นใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลักเนื่องจากการขนส่งทางระบบราง มีปัญหาด้านความล่าช้า ความไม่ตรงต่อเวลา สินค้าปนเปื้อนสิ่งสกปรก สินค้าเสียหาย และ สูญหาย และขาดเส้นทางการเชื่อมต่อไปยังคลังสินค้าและท่าเรือโดยตรง โดยจะพิจารณาร่วมกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมและขนส่งของประเทศไทย ภายใต้การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Modal Shift) โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองการขนส่งสินค้า เพื่อคาดการณ์ปริมาณการขนส่งและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง ประกอบด้วย 3 สถานการณ์ ได้แก่ กรณีที่ 1 ไม่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (กรณีฐาน) กรณีที่ 2 ปรับปรุงโครงข่ายทางถนนและพัฒนาทางพิเศษระหว่างเมือง กรณที่ 3 พัฒนาโครงข่ายระบบรางทั้งหมด พบว่า กรณีที่ 1 การขนส่งสินค้าน้ำตาลยังเป็นการขนส่งทางถนนเป็นหลัก ร้อยละ 99 ส่วนการขนส่งทางรางมีประมาณร้อยละ 1 กรณีที่ 2 ปริมาณการขนส่งทางถนนเพิ่มขึ้น แต่การขนส่งสินค้าทางระบบรางจะลดลง และกรณีที่ 3 การขนส่งสินค้าน้ำตาลจะเปลี่ยนไปใช้ระบบรางมากขึ้นซึ่งจากการศึกษาจะเห็นว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางระบบรางจะส่งผลต่อการขนส่งสินค้าน้ำตาลเป็นอย่างมาก  
ผู้เขียน
575040036-2 นาย ณัฐพล พรสัตยวงศ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0