2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title แนวคิดอำนาจและทวิภาวะของโครงสร้างในการผลิตข้าวสังข์หยดอินทรีย์ของชาวนาภาคใต้ 
Date of Distribution 22 June 2017 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 12 “อยู่ดี กินดี มีสุข” มิติสุขภาพและวัฒนธรรม 
     Organiser ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  
     Conference Place ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  
     Province/State กรุงเทพมหานคร 
     Conference Date 21 June 2017 
     To 23 June 2017 
Proceeding Paper
     Volume 2561 
     Issue พิมพ์ครั้งแรก 
     Page
     Editors/edition/publisher  
     Abstract บทคัดย่อ ในสังคมร่วมสมัยและระบบทุนนิยม กลุ่มเกษตรกรสามารถเป็นผู้กระทำการ (agency) ภายใต้ทวิภาวะของโครงสร้าง กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์โต้ตอบกับโครงสร้าง (structure) การเกษตรกระแสหลัก โดยปฏิบัติการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวและผักปลอดสารพิษ อาหารอินทรีย์หรืออาหารออร์แกนิก ซึ่งไม่ใช้สารเคมีและวัตถุอันตรายในกระบวนการผลิต ปฏิบัติการนี้ก่อตัวเป็นกระบวนทัศน์เกษตรอินทรีย์แบบพอยังชีพที่สอดแทรกอุดมการณ์สิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกจึงเหมาะสมและมีศักยภาพเป็นแหล่งผลิตอาหารในระบบเกษตรอินทรีย์ที่ขายได้และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ปลายทศวรรษ 2540 เกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่เริ่มขยายการผลิตเพื่อขาย และใน พ.ศ. 2558 เพิ่มเป็นร้อยละ 21 ส่วนใหญ่เป็นข้าวออร์แกนิก (ร้อยละ 28) ทำให้เกษตรอินทรีย์ที่เป็นอยู่ ได้เข้าไปรองรับระบบทุนนิยมที่เน้นการผลิตเชิงพาณิชย์ กิจกรรมการผลิตที่หลากหลายขั้นตอนและการพึ่งพาระบบนิเวศของเกษตรอินทรีย์จึงไม่ได้หมายถึงความเป็นอิสระจากตลาดหรือระบบทุนนิยม นอกจากนี้เกษตรอินทรีย์ยังเป็นกระบวนการผลิตที่ใช้ทุนสูงในเกือบทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการทำตลาด ที่สัมพันธ์กับอำนาจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล อาทิเช่นสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มทก.) ภายใต้สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ฯลฯ บทความจะพิจารณาถึงแนวคิดอำนาจและทวิภาวะของโครงสร้างของแอนโธนี กิดเดนส์ (Anthony Giddens) จากกรณีการผลิตข้าวสังข์หยดอินทรีย์ของชาวนาภาคใต้ กระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์มีระเบียบหลักเกณฑ์ภายใต้ มาตรฐานสินค้าอินทรีย์ ที่เป็นเครื่องมือการพัฒนาความรู้คุณภาพการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ ขณะเดียวกันก็ได้สถาปนา ผู้ตรวจสอบ ที่มีอำนาจเหนือในความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้รู้ (ผู้ควบคุมมาตรฐาน) และผู้ถูกตรวจสอบ (กลุ่มเกษตรกร) ถ้าต้องการได้มาตรฐานสินค้าอินทรีย์ต้องทำตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ กลายเป็นกลไกเชิงโครงสร้างให้กลุ่มเกษตรกรต้องรับเอาข้อกำหนดในการผลิตเกษตรอินทรีย์มาเป็นคัมภีร์ที่ต้องฝึกฝนปฏิบัติตาม กลุ่มเกษตรกรสามารถยอมรับและปฏิบัติตามได้ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง แต่อาจมีข้อจำกัดให้ต้องต่อสู้ต่อรองกรณีที่ไม่สามารถทำตามได้อย่างราบรื่น อย่างไรก็ตาม โครงสร้างมาตรฐานนี้ไม่ได้ทำหน้าที่กดบังคับเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งเสริมความสามารถกระทำการให้แก่กลุ่มเกษตรกร ด้วยการผลิตซ้ำโครงสร้างเพื่อการดำรงชีพภายใต้เกษตรอินทรีย์ในกระแสทุน คำสำคัญ (Keywords) ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ โครงสร้างและผู้กระทำการ กฎเกณฑ์และทรัพยากร เกษตรอินทรีย์ กลุ่มเกษตรกร  
Author
557080002-7 Miss RATCHADA RUANGSARAKUL [Main Author]
Humanities and Social Sciences Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding true 
     Award Title บทความคัดสรรในการประชุมวิชาการ 
     Type of award รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     Organiser ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  
     Date of awarding 22 มิถุนายน 2560 
Attach file
Citation 0