ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
แนวคิดอำนาจและทวิภาวะของโครงสร้างในการผลิตข้าวสังข์หยดอินทรีย์ของชาวนาภาคใต้ |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
22 มิถุนายน 2560 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 12 “อยู่ดี กินดี มีสุข” มิติสุขภาพและวัฒนธรรม |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
สถานที่จัดประชุม |
ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
จังหวัด/รัฐ |
กรุงเทพมหานคร |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
21 มิถุนายน 2560 |
ถึง |
23 มิถุนายน 2560 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2561 |
Issue (เล่มที่) |
พิมพ์ครั้งแรก |
หน้าที่พิมพ์ |
0 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
ในสังคมร่วมสมัยและระบบทุนนิยม กลุ่มเกษตรกรสามารถเป็นผู้กระทำการ (agency) ภายใต้ทวิภาวะของโครงสร้าง กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์โต้ตอบกับโครงสร้าง (structure) การเกษตรกระแสหลัก โดยปฏิบัติการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ข้าวและผักปลอดสารพิษ อาหารอินทรีย์หรืออาหารออร์แกนิก ซึ่งไม่ใช้สารเคมีและวัตถุอันตรายในกระบวนการผลิต ปฏิบัติการนี้ก่อตัวเป็นกระบวนทัศน์เกษตรอินทรีย์แบบพอยังชีพที่สอดแทรกอุดมการณ์สิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกจึงเหมาะสมและมีศักยภาพเป็นแหล่งผลิตอาหารในระบบเกษตรอินทรีย์ที่ขายได้และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ปลายทศวรรษ 2540 เกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่เริ่มขยายการผลิตเพื่อขาย และใน พ.ศ. 2558 เพิ่มเป็นร้อยละ 21 ส่วนใหญ่เป็นข้าวออร์แกนิก (ร้อยละ 28) ทำให้เกษตรอินทรีย์ที่เป็นอยู่ ได้เข้าไปรองรับระบบทุนนิยมที่เน้นการผลิตเชิงพาณิชย์ กิจกรรมการผลิตที่หลากหลายขั้นตอนและการพึ่งพาระบบนิเวศของเกษตรอินทรีย์จึงไม่ได้หมายถึงความเป็นอิสระจากตลาดหรือระบบทุนนิยม นอกจากนี้เกษตรอินทรีย์ยังเป็นกระบวนการผลิตที่ใช้ทุนสูงในเกือบทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการทำตลาด ที่สัมพันธ์กับอำนาจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล อาทิเช่นสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มทก.) ภายใต้สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ฯลฯ บทความจะพิจารณาถึงแนวคิดอำนาจและทวิภาวะของโครงสร้างของแอนโธนี กิดเดนส์ (Anthony Giddens) จากกรณีการผลิตข้าวสังข์หยดอินทรีย์ของชาวนาภาคใต้ กระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์มีระเบียบหลักเกณฑ์ภายใต้ มาตรฐานสินค้าอินทรีย์ ที่เป็นเครื่องมือการพัฒนาความรู้คุณภาพการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ ขณะเดียวกันก็ได้สถาปนา ผู้ตรวจสอบ ที่มีอำนาจเหนือในความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้รู้ (ผู้ควบคุมมาตรฐาน) และผู้ถูกตรวจสอบ (กลุ่มเกษตรกร) ถ้าต้องการได้มาตรฐานสินค้าอินทรีย์ต้องทำตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ กลายเป็นกลไกเชิงโครงสร้างให้กลุ่มเกษตรกรต้องรับเอาข้อกำหนดในการผลิตเกษตรอินทรีย์มาเป็นคัมภีร์ที่ต้องฝึกฝนปฏิบัติตาม กลุ่มเกษตรกรสามารถยอมรับและปฏิบัติตามได้ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง แต่อาจมีข้อจำกัดให้ต้องต่อสู้ต่อรองกรณีที่ไม่สามารถทำตามได้อย่างราบรื่น อย่างไรก็ตาม โครงสร้างมาตรฐานนี้ไม่ได้ทำหน้าที่กดบังคับเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งเสริมความสามารถกระทำการให้แก่กลุ่มเกษตรกร ด้วยการผลิตซ้ำโครงสร้างเพื่อการดำรงชีพภายใต้เกษตรอินทรีย์ในกระแสทุน
คำสำคัญ (Keywords)
ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ โครงสร้างและผู้กระทำการ กฎเกณฑ์และทรัพยากร เกษตรอินทรีย์ กลุ่มเกษตรกร
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ได้รับรางวัล |
ชื่อรางวัล |
บทความคัดสรรในการประชุมวิชาการ |
ประเภทรางวัล |
รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ |
หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล |
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล |
22 มิถุนายน 2560 |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|