2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ทุนทางสังคม : โอกาสและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายใต้การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 1 สิงหาคม 2560 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2560 เรื่อง “ประเทศไทยกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมที่ยั่งยืน (Thailand’s Sustainability Transition)”  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
     สถานที่จัดประชุม อาคารเกษม อุทยานิน (รัฐศาสตร์ 60 ปี) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพฯ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 1 สิงหาคม 2560 
     ถึง 1 สิงหาคม 2560 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2560 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 55 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ ขณะที่ประชาคมโลกแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการพัฒนายั่งยืนและการเคลื่อนไหวของขบวนการเกษตรอินทรีย์เรื่องความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร แต่กระนั้นเกษตรกรไทยที่ได้รับผลกระทบจากการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก ความเสี่ยงเรื่องสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และระบบนิเวศเกษตรที่ไม่สมดุล ทำให้ประชาสังคมและภาคประชาชน อาทิเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ปราชญ์ท้องถิ่น และกลุ่มเกษตรกร ร่วมกันฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและสร้างทางเลือกเพื่อลดต้นทุนการผลิต ทศวรรษ 2530 เกษตรอินทรีย์ที่เป็นการผลิตแบบพอยังชีพก่อตัวขึ้นตอบโต้การพัฒนากระแสหลัก และเป็นโอกาสให้เกษตรกรเปลี่ยนผ่านสู่ยุค "ออร์แกนิกบูม (Organic Bloom)" สินค้าอินทรีย์มีวางขายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก จากกระแสอาหารเพื่อสุขภาพ ตั้งแต่ทศวรรษ 2550 "คำว่าออร์แกนิก ถูกนำมาใช้เป็นจุดขาย ความต้องการของผู้บริโภคเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่โตด้วยข้อมูลทางการตลาดไม่ได้โตด้วยความรู้ความเข้าใจที่แท้จริง" เกิดเป็นข้อถกเถียงทางวิชาการถึงการกระทำทางสังคมของการเกษตรอินทรีย์ที่เป็นอยู่และทิศทางที่ควรจะเป็น บทความจะพิจารณาถึงแนวคิดเรื่องทุนของ Pierre Bourdieu กลุ่มคนและเงื่อนไขต่าง ๆ ในการผลิตสินค้าอินทรีย์ การศึกษาพบว่า ขณะที่นโยบายส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ดำเนินไปในสังคมไทย ความต้องการของตลาดและผู้บริโภคขยายขึ้น กลุ่มเกษตรกรผู้กระทำการผลิตเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์ใช้ทุนแตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์และเครือข่ายที่สานขึ้นเป็นทุนทางสังคมดูจะส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำและโอกาสในการผลิตข้าวอินทรีย์ในภาคใต้ของไทยแตกต่างกันไป  
ผู้เขียน
557080002-7 น.ส. รัชดา เรืองสารกุล [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0