2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ “การรับรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อ โพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติก 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 พฤษภาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม “ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ ๓” หัวข้อ “นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก Disruptive Innovation 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัย ราชธานี 
     สถานที่จัดประชุม ณ มหาวิทยาลัยราชธานี 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดอุบลราชธานี  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 25 พฤษภาคม 2561 
     ถึง 25 พฤษภาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2561 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ โพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติกมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน แต่ยังขาดข้อมูลที่แสดงถึงการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อ โพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติก การศึกษาครั้งนี้จึงทำการสำรวจการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคและปัจจัยส่วนบุคคลต่อการรับรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมดังกล่าวในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 ราย ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accident Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์โดยใช้สถิติ Chi-square ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 54.75 ไม่รู้จักโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติก โดยช่องทางการรับรู้ข่าวสารของโพรไบโอติกที่ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกมากที่สุดมาจากโฆษณาและรายการให้ความรู้ทางทีวี ดังนั้นการให้ความรู้เกี่ยวกับโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติกผ่านช่องทางทีวีและอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางที่น่าจะเข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด ในส่วนของการรับรู้เกี่ยวกับประโยชน์ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ69.67 ทราบถึงประโยชน์แต่มีเพียงร้อยละ 29.83 ที่ทราบถึงโทษของโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติก ด้านทัศนคติระดับความคิดเห็นที่มีต่อโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติกอยู่ในระดับปานกลาง ด้านพฤติกรรมบุคคลที่มีส่วนในการตัดสินใจเลือกมากที่สุดคือบุคลากรทางการแพทย์ โฆษณา/ทีวีและหาข้อมูลเองตามลำดับ เหตุผลที่ผู้ตอบแบบถามเลือกในการบริโภคโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติกมากที่สุดคือเสริมการทำงานของร่างกาย และช่วยเรื่องท้องผูกตามลำดับ สถานที่ในการเลือกซื้อมากที่สุดคือ ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าปลีกและร้านขายยาตามลำดับ ความถี่เฉลี่ยในการซื้อคือสัปดาห์ละครั้ง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงระดับการรับรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติก ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยังมีระดับการรับรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติกน้อย ส่งผลให้มีทัศนคติในระดับปานกลาง ซึ่งสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคโพรไบโอติกและอาหารโพรไบโอติกรูปแบบนมเปรี้ยวและโยเกิร์ตเป็นส่วนใหญ่ซึ่งแหล่งข้อมูลที่ได้รับมาจากโฆษณาทางทีวี  
ผู้เขียน
565150047-3 น.ส. มิลิน ทวิโคตร [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0