2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปลาส้มเขื่อนอุบลรัตน์ : แนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตปลาส้ม ของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านโนนปอแดง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 16 พฤษภาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่  
     ฉบับที่  
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ ปลาส้มเขื่อนอุบลรัตน์ เป็นสินค้าของชุมชนบริเวณเหนือเขื่อน ได้นำปลามาแปรรูป จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ามีวิสาหกิจชุมชนในพื้นเหนือเขื่อนอุบลรัตน์จำนวนกว่า 115 วิสาหกิจชุมชน ที่ทำการแปรรูปปลาเป็นปลาส้ม และพบว่ามีเพียง 10 วิสาหกิจชุนเท่านั้น ที่แปรรูปปลาส้มได้รับการรับรองมาตรฐาน ส่วนวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านโนนปอแดง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ยังมิได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ปลาส้มที่แปรรูปแต่อย่างใด จึงเกิดความคิดริเริ่มโดยมีคำถามวิจัยว่า วิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านโนนปอแดงมีแนวทางในการพัฒนาการผลิตปลาส้มอย่างไร จึงจะสามารถยกระดับการผลิตปลาส้มให้ได้รับการรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง โดยได้ทำการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการผลิตปลาส้มของวิสาหกิจชุมชน ในเดือนมิถุนายน 2556 ถึงเดือนกรกฎาคม 2557 พบว่า การผลิตปลาส้มของชุมชนเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ มีการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน บริบทชุมชนบ้านโนนปอแดง ตำบลโคกใหญ่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นชุมชนที่ตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2591 ปัจจุบันมีประชากร 60 ครัวเรือน มีการประกอบอาชีพหลักเกษตรกรรม อาชีพเสริมหาปลาและแปรรูปปลาจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ โดยการรวมกลุ่มกันภายใต้โครงการความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนอุบลรัตน์ และจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านโนนปอแดง มีสมาชิก 20 คน กิจกรรมผลิตปลาส้ม ซึ่งผลิตตามที่หาวัตถุดิบในท้องถิ่นได้ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณสร้างโรงเรือนในการผลิตและจำหน่ายในชุมชน จากการสนทนากลุ่มของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านโนนปอแดง พบว่าสมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีความต้องการที่จำเป็น 4 ประเด็น 1) การพัฒนาโรงเรือนในการผลิต 2) การพัฒนาการผลิตสู่การผลิตที่ได้มาตรฐาน 3) การพัฒนาการบริหารจัดการ และ 4) การขยายการตลาด ซึ่งได้มีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาการผลิตปลาส้มให้ได้มาตรฐาน โดยการประสานหน่วยงานภาคี เพื่อให้คำปรึกษาเบื้องต้นด้านการพัฒนาการผลิตปลาส้ม และพัฒนาความรู้ด้านการพัฒนาการผลิตปลาส้ม และศึกษาดูงานวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาที่ประสบความสำเร็จได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต และได้ร่วมกันวางแผนการพัฒนาเพื่อยกระดับการผลิตปลาส้มให้ได้มาตรฐาน และได้แนวทางการพัฒนาร่วมกันในการผลิตปลาส้มของวิสาหกิจชุมชน 4 ประเด็น 1) การพัฒนาอาคารสถานที่ โดยการพัฒนาโรงเรือนตามหลัก Primary GMP 2) การพัฒนาการผลิต โดยการพัฒนาการผลิตให้ได้มาตรฐานอาหารและยา มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มาตรฐาน OTOP และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 3) พัฒนาการบริหารจัดการ โดยการระดมทุนและขยายสมาชิกเพิ่มเติม 4) การพัฒนาการตลาด โดยการขยายช่องทางการตลาดในรูปแบบตลาดออนไลน์ 
     คำสำคัญ การพัฒนาชุมชน, ส่งเสริมการเกษตร, พัฒนาการเกษตร, มาตรฐาน Primary GMP, มาตรฐานอาหารและยา,มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน, มาตรฐาน OTOP 
ผู้เขียน
555030069-1 น.ส. สาริกา จันทร์ชมภู [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0