2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การศึกษาการรับรู้ชื่อของสีธรรมชาติของคนไทย The Study of the natural color name perception of Thai  
Date of Distribution 29 June 2018 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการทางการออกแบบสร้างสรรค์ระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2561 
     Organiser คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 29 June 2018 
     To 29 June 2018 
Proceeding Paper
     Volume 2561 
     Issue
     Page 67 - 80 
     Editors/edition/publisher คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น/100/โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา 
     Abstract บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่องการออกแบบอัตลักษณ์และผลิตภัณฑ์สีจากการรับรู้สีของคนไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ชื่อของสีในชีวิตประจำวันของคนไทย และเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบอัตลักษณ์และผลิตภัณฑ์สีจากการรับรู้สีของคนไทยสำหรับเด็ก โดยการรวบรวมข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับการรับรู้ชื่อของสีสากล การรับรู้ชื่อของสีภาษาไทย การเรียนรู้สีของเด็กไทย และการรับรู้ชื่อของสีในประเทศไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและสิ่งรอบตัวของคนไทย โดยการรวบรวมจากหนังสือแบบเรียนวิชาศิลปะแต่ละช่วงชั้น ตำราสี เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียกชื่อของสีของคนไทย และรวบรวมจากสีในผลิตภัณฑ์สีสำหรับวาดเขียน สีผสมอาหารตามท้องตลาด แล้วนำมาวิเคราะห์ชื่อของสีที่เกี่ยวกับธรรมชาติ ชื่อของสีที่คนไทยรู้จักทั่วไป และจำนวนสีที่ต้องการ เพื่อนำไปใช้ในการสร้างแบบสอบถามการรับรู้ชื่อของสี มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนไทยที่ไม่เป็นโรคตาบอดสี อาศัยและเติบโตในประเทศไทยจำนวน 300 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน โดยการสอบถามและสัมภาษณ์ แล้วนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาวิเคราะห์สรุปผล นำไปใช้ในการออกแบบอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ กราฟิกผลิตภัณฑ์สี และสร้างสีให้ได้ตามผลการวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์สีจากการรับรู้ของคนไทยที่สามารถนำไปใช้เสริมการเรียนรู้ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งรอบตัวจากสีได้มากขึ้น ผลการศึกษาการรับรู้ชื่อของสีในชีวิตประจำวันของคนไทยด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามการรับรู้ชื่อของสี แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ 1) การรับรู้ชื่อของสีของคนไทย 12 สี พบว่า คนไทยสามารถรับรู้และเข้าใจชื่อสีได้ ดังนี้ สีแดงสดเรียกว่าแดงพริก สีแดงเข้มเรียกว่าแดงเลือดหมู สีน้ำเงินเรียกว่าน้ำเงินคราม สีเหลืองเรียกว่าเหลืองขมิ้น สีส้มเรียกว่าส้มจีวร สีเขียวเข้มเรียกว่าเขียวใบเตย สีเขียวอ่อนเรียกว่าเขียวใบตองอ่อน สีม่วงเรียกว่าม่วงเปลือกมังคุด สีฟ้าเรียกว่าฟ้าท้องฟ้า สีชมพูเรียกว่าชมพูกลีบกุหลาบ สีน้ำตาลเรียกว่าน้ำตาลไหม้ และสีดำเรียกว่าดำถ่าน 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้ชื่อของสีของคนไทย โดยแบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ 2.1) การรับรู้ความแตกต่างของสีมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันในด้านการแยกแยะสิ่งต่าง ๆ การตัดสินใจเลือก การกล่าวอธิบาย การให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไป 2.2) กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำชื่อสีได้จากประสบการณ์ จดจำจากที่มาของสี จดจำจากลักษณะที่แตกต่างกันของสี 2.3) การจดจำชื่อสีในภาษาอังกฤษของกลุ่มเป้าหมายพบว่า ส่วนใหญ่สามารถจำชื่อสีหลักได้ แต่หากเป็นสีที่ไม่ได้ใช้งานบ่อยจะไม่สามารถจำได้ โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ออกแบบอัตลักษณ์และผลิตภัณฑ์สีจากการรับรู้สีของคนไทยสำหรับเด็ก และผลการออกแบบอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ พบว่า การตั้งชื่อของสีในภาษาไทยใช้ตามชื่อที่ได้จากผลการศึกษาการรับรู้ชื่อของสีในชีวิตประจำวันของคนไทย การตั้งชื่อของสีภาษาอังกฤษอิงจากชื่อของสีภาษาไทย เพื่อให้ต่างชาติสามารถรับรู้และเข้าใจการเรียกชื่อของสีแบบคนไทย รูปแบบของกราฟิกใช้กราฟิกแบบกึ่งนามธรรมที่มีลักษณะสีเป็นแบบสีน้ำ การใช้รูปภาพประกอบใช้การออกแบบจากชื่อของสี ภาพประกอบมีสีสันสวยงามเหมาะสมกับกลุ่มผู้ใช้งาน  
Author
595200023-3 Miss NAWAKARN THEENANON [Main Author]
Architecture Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0