2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ สภาพปัญหาของแผลที่เท้าผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกส่งต่อมายังแผนกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสังคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 31 สิงหาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ทิศทางและการพัฒนาระบบสุขภาพไทย 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟแอนด์รีสอร์ท 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 31 สิงหาคม 2561 
     ถึง 31 สิงหาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 73-80 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของแผลที่เท้าผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกส่งต่อมายังแผนกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสังคม โดยเก็บข้อมูล ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 – ธันวาคม 2560 ศึกษาจากผู้ป่วยจำนวน 28 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่และร้อยละ ซึ่งการศึกษาสภาพปัญหาของแผลที่เท้านี้ พิจารณาอยู่ 3 ประเด็นได้แก่ ตำแหน่งที่เป็นแผล ระยะเวลาที่เป็นแผล ระดับความรุนแรงและประเภทของแผล โดยใช้เครื่องมือ 3 ชนิดคือ 1.แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินเท้าผู้ป่วยเบาหวาน 2.แบบประเมินการจำแนกแผลเบาหวานที่เท้าของ University of Texas Diabetic Wound Classification โดยพิจารณาจาก Grade (ระดับความลึกของแผล) และ Stage (การติดเชื้อและการขาดเลือด) 3.แบบประเมินแผลตามสมุฏฐานตรีโทษ โดยพิจารณาจาก ลักษณะของแผลตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ตำแหน่งที่เป็นแผลเบาหวานที่เท้าที่พบมากที่สุดคือ ฝ่าเท้า ซึ่งพบจำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.26 และระยะเวลาที่เป็นแผลเบาหวานที่เท้าที่พบมากที่สุดคือ ระยะเวลา 1 ปี โดยพบจำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 46.43 ในส่วนของการจำแนกแผลเบาหวานที่เท้า ตาม University of Texas Diabetic Wound Classification พบว่า ระดับความรุนแรงของแผลที่พบมากที่สุดคือ แผล Grade 1 Stage A ร้อยละ 25 รองลงมาคือ แผล Grade 2 Stage A ร้อยละ 21.43 และ แผลGrade 2 Stage C ร้อยละ 14.29 และการจำแนกแผลตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยพบว่า ประเภทของแผลที่พบมากที่สุดคือ แผลแบบวาตะ ร้อยละ28.57 รองลงมาเป็นแผลแบบปิตตะ ร้อยละ 25 และแผลแบบปิตตะระคนเสมหะ ร้อยละ 10.71 โดยผู้ป่วยที่ส่งต่อมายังแผนกแพทย์แผนไทยนั้นมีแผลตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยทั้ง 3 สมุฏฐาน ตามทฤษฎีการปรุงยาเพื่อสมานแผลที่เกิดจากทั้ง 3 สมุฏฐานนั้นพบว่า ตำรับยาขี้ผึ้งทาแผล WP255/2 จากจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลราม สามารถใช้ได้กับแผลทั้ง 3 สมุฏฐานตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย โดยได้นำมาใช้ในกรณีศึกษาแล้วเห็นแนวโน้มการสมานแผลดีขึ้น และใช้ระยะเวลาในการสมานแผล 12 วัน  
ผู้เขียน
585150075-0 น.ส. รสมน เพ็งสิงห์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0