2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้สมองเป็นฐาน(Brain-Based Learning : BBL)ระดับมัธยมศึกษาสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 25 มิถุนายน 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ประชุมวิชาการระดับชาติ ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่ 4 อัตลักษณ์ศิลปกรรมจากรากสู่โลก 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 กรกฎาคม 2561 
     ถึง 14 กรกฎาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2561 
     Issue (เล่มที่) 2 ดนตรีการแสดง วัฒนธรรม และนานาชาติ 
     หน้าที่พิมพ์ 929 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนดนตรีโดยใช้สมองเป็นฐาน ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง ใช้เทคนิคการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 โรงเรียน คือโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) และ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้สมองเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติใช้ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่าผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน มีความพึงพอใจที่ดีต่อการเรียนในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานในระดับพึงพอใจมากที่สุด (= 4.90 , S.D. = 0.34) และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับพึงพอใจมากที่สุด คือผู้เรียนได้โต้ตอบกัน พูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความรู้กัน จนรู้สึกมีคุณค่าและเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม และสามารถร้องเพลง เล่นดนตรี และเคลื่อนไหวไปกับดนตรีได้รวมทั้งการอ่านและเขียนโน้ตเพลง พร้อมทั้งสามารถสรุปความรู้ใหม่และตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง (=4.98, S.D. = 0.16) 
ผู้เขียน
577220004-7 นาย จิตติวิทย์ พิทักษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0